“WATER” ในที่นี้มีที่มาที่ไป แท้จริงแล้วย่อมาจาก “Wise Antenna of Transmission Execution & Receiving System” เป็นโครงการพัฒนาจานสายอากาศความถี่ S-Band ต้นแบบ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง GISTDA และพันธมิตรต่างๆ ทั้งสถาบันการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก รวมไปจนถึงผู้ประกอบการภายในประเทศ ร่วมกันพัฒนาจนประสบความสำเร็จในการสร้างระบบจานสายอากาศสำหรับติดต่อสื่อสารย่านความถี่ S-band (ย่านความถี่ 2 GHz) ภายใต้ชื่อ WATER ซึ่งเป็นการปลดล๊อคการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้น้อยที่สุด และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำบทเรียนและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานภายใต้โครงการ THEOS-1 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบจานสายอากาศจนประสบความสำเร็จนั่นเอง
WATER เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ระบบจานสายอากาศ WATER ได้ปฏิบัติภารกิจรับ-ส่งสัญญาณควบคุมดาวเทียมไทยโชต เป็นครั้งแรกแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญของการพัฒนาระบบจานสายอากาศแบบ Tracking ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศและสามารถใช้ติดต่อสื่อสารดาวเทียมได้โดยเคลื่อนที่ในอวกาศที่ความเร็วประมาณ 25,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และปัจจุบันสามารถใช้ทดแทนระบบจานสายอากาศเดิมที่ส่งมอบพร้อมกับโครงการ THEOS-1 ด้วยนะครับ
ลักษณะของระบบจานสายอากาศ WATER จะรองรับช่วงคลื่นความถี่ S-Band หน้าจานอากาศมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.1 เมตร และมีกำลังส่งไม่เกิน 100 W จึงสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อส่ง-รับสัญญาณควบคุมดาวเทียม THEOS ทั้งนี้...ระบบจานสายอากาศยังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับดาวเทียมภายใต้โครงการ THEOS-2 อีกจำนวน 2 ดวงอีกด้วย นั่นก็คือ THEOS-2 Main Sat และ Small Sat ครับ
ด้านการให้บริการดาวเทียมต่างประเทศ ระบบจานสายอากาศ WATER ได้ให้บริการติดต่อสื่อสารกับดาวเทียม GEO-KOMPSAT-2A (GK-2A) และ GEO-KOMPSAT-2B (GK-2B) ซึ่งเป็นดาวเทียมสัญชาติเกาหลี ตั้งแต่ปี พ.ศ 2561 ถึงปัจจุบัน โดยดาวเทียมดังกล่าวโคจรในระดับวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Earth Orbit: GEO) นอกจากนี้ GISTDA ยังมีแผนที่จะให้บริการดาวเทียม ELSA-D ซึ่งเป็นดาวเทียมสัญชาติญี่ปุ่น ภายในปี 2564 โดยเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือ กับ บริษัท Swedish Space Corporation (SSC) ประเทศสวีเดน และรวมไปถึงกลุ่มดาวเทียมอื่นๆที่กำลังพัฒนาอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
น.ส. จารุณี ขุนจันทร์
วิศวกรชำนาญการ
กลุ่มปฏิบัติการดาวเทียม ภายใต้กลุ่มภารกิจพิเศษปฏิบัติการดาวเทียมภาคพื้นดิน GISTDA
#GISTDA #จิสด้า #จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #ดาวเทียม #ความร่วมมือ
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.