ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Azimuth angle กันก่อน ซึ่งก็คือ มุมกวาดที่จานสายอากาศทำการกวาดไปในแนวพื้นราบ (horizontal) เพื่อให้เล็งเห็นดาวเทียม โดยนับเริ่ม 0° ที่ทิศเหนือ และกวาดไปตามเข็มนาฬิกาในแนวพื้นราบจนกลับมาครบรอบที่ทิศเหนือที่ 360° หรือคือ 0° นั่นเองครับ ส่วน Elevation angle คือ มุมเงยที่จานสายอากาศทำการเงยขึ้นทำมุมกับระนาบแนวพื้นราบเพื่อให้เล็งเห็นดาวเทียม โดยนับเริ่ม 0° ในขณะที่จานสายอากาศ ทำมุม 0° กับระนาบแนวพื้นราบ หรือขนานกับแนวพื้นราบนั่นเอง โดยที่มุมเงยจะมีค่ามากที่สุดที่ 90° เมื่อเงยจานสายอากาศตั้งฉากกับระนาบแนวพื้นราบ
ในระบบจานสายอากาศเองจะต้องสามารถคำนวณเพื่อทำนายแนวโคจรเมื่อดาวเทียมโคจรเข้ามาในพื้นที่ครอบคลุมของการรับสัญญาณ และจะทำการสั่งให้จานรับสัญญาณทำการติดตาม (Tracking) ดามเทียมไปตามแนวโคจรของดาวเทียม โดยมีพิกัดอ้างอิงเป็นมุม Azimuth และ มุม Elevation ซึ่งพารามิเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณเพื่อทำนายแนวโคจรของดาวเทียมมีหลายรูปแบบด้วยกัน แต่รูปแบบที่นิยมกันและ GISTDA ใช้งานอยู่คือรูปแบบที่เรียกว่า Two-Line Element หรือ TLE (รูปแบบของกลุ่มตัวเลขเรียงกันสองบรรทัด ที่นำมาใช้ในการทำนายตำแหน่งและวงโคจรของดาวเทียม และวัตถุที่โคจรรอบโลก) นั่นเองครับ
# ในคราวหน้าเราจะมาดูกันว่าจานสายอากาศจะทำการติดตามดาวเทียมเพื่อทำการรับสัญญาณข้อมูลได้อย่างไร?
ขอบคุณข้อมูลจาก
ทศพล ชินนิวัฒน์ วิศวกรชำนาญการ
#gistda #gistdaก้าวสู่ปีที่21 #จิสด้า #อว #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #mhesi #spacetechnology #NewSpaceEconomy #อวกาศ #พัฒนาดาวเทียม #วิศวกรไทย #คนไทยทำได้
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.