สถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่แอดมินไม่พลาดที่จะคอยรายงานสถานการณ์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบด้วยข้อมูลจากดาวเทียม นอกจากเรื่องน้ำท่วมแล้วในเรื่องขององค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศก็มีมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ครั้งนี้เราจะมารู้จักกับการติดตามดาวเทียมด้วยวิธี Tracking กันครับ
ซึ่งในปัจจุบัน GISTDA มีระบบจานสายอากาศที่ใช้รับสัญญาณข้อมูลภาพภ่ายดาวเทียมอยู่จำนวน 3 ระบบดังนี้
ระบบจานรับสัญญาณ L3-COM ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 13 เมตร
ระบบจานรับสัญญาณ ViaSat ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 13.56 เมตร
ระบบจานรับสัญญาณ Orbital ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร
โดยทั้ง 3 ระบบที่กล่าวมาจะใช้พารามิเตอร์ในการคำนวณเพื่อทำนายแนวโคจรของดาวเทียมในรูปแบบของ Two-Line Element ซึ่ง Two-Line Element (TLE): คือรูปแบบของกลุ่มตัวเลขเรียงกันสองบรรทัด ที่นำมาใช้ในการทำนายตำแหน่งและวงโคจรของดาวเทียม และวัตถุที่โคจรรอบโลก โดย TLE นี้จะถูกส่งมาจากหน่วยงานที่ทำการควบคุมดาวเทียม เพื่อใช้สำหรับทำนายวงโคจร และทำการติดตามดาวเทียมนั่นเองครับ (เพิ่มเติม https://sites.google.com/a/lesa.biz/www/space-technology/satellite/tle)
มารู้จักกับ...โหมดในการติดตามดาวเทียม (Satellites Tracking mode) กันบ้าง
Program Tracking: เป็นการติดตามดาวเทียมโดยใช้โปรแกรมคำนวณเพื่อทำนายวงโคจรของดาวเทียม เพื่อให้ทราบตำแหน่งของดาวเทียม ณ เวลาต่างๆที่ดาวเทียมโคจรอยู่ในรัศมีของการรับสัญญาณ โดยจานสายอากาศจะหันไปในทิศทางที่เล็งเห็นดาวเทียมเป็นแนวเส้นตรงและจะติดตามดาวเทียมไปเพื่อ รับ-ส่ง ข้อมูลระหว่างดาวเทียมกับสถานีภาคพื้นดิน ตามการคำนวณวงโคจรของโปรแกรม
Auto Tracking: เป็นการติดตามดาวเทียมที่ใช้การประมวลผลของสัญญาณจาก Tracking Receiver โดย ACU (Antenna Control Unit) จะนำสัญญาณจาก Tracking Receiver มาประมวลผล และทำการติดตามสัญญาณจากดาวเทียมโดยจะพยายามปรับตำแหน่งของจานไปในทิศทางที่ทำให้กำลังงานของสัญญาณในช่อง Tracking สมดุลย์อยู่เสมอ ทั้งนี้ก่อนเริ่มการทำ Auto Tracking จะต้องใช้ Program Tracking ก่อนเพื่อให้จานสายอากาศรับสัญญาณจากดาวเทียมผ่าน Tracking Receiver ให้ได้ก่อน ระบบ ACU จึงจะสามารถนำสัญญาณไปประมวลผลเพื่อทำ Auto Tracking ต่อไป
ภาพด้านบน เป็นรูปตัวอย่างท่อนำคลื่นของชุด X-band Feed ที่ใช้สำหรับการทำ Auto Tracking โดยมีช่องสัญญาณข้อมูลคือช่องสัญญาณ E5 ส่วนช่องสัญญาณ E1, E2, E3 และ E4 ใช้สำหรับการติดตามดาวเทียมแบบ Auto Tracking ซึ่งระบบจานสายอากาศจะปรับตำแหน่งของจานไปในทิศทางที่ทำให้กำลังงานของสัญญาณในช่อง Tracking สมดุลย์อยู่เสมอ นั่นก็คือ กำลังงาน E2 (ขวา) = E4 (ซ้าย) และ กำลังงาน E1 (บน) = E3 (ล่าง)
แอดมินสัญญาว่า จะนำความรู้ที่มีประโยชน์แบบนี้มานำเสนออย่างต่อเนื่องครับ เพื่อให้ผู้ที่สนใจหรือน้องๆที่จะเป็นวิศวกรรุ่นใหม่ได้มีองค์ความรู้ใหม่ๆที่บางครั้งอาจจะไม่ได้ศึกษาโดยตรงจากในห้องเรียนให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมกันมากที่สุด // ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ทศพล ชินนิวัฒน์ วิศวกรชำนาญการ
#gistda #gistdaก้าวสู่ปีที่21 #จิสด้า #อว #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #mhesi #spacetechnology #NewSpaceEconomy #อวกาศ #พัฒนาดาวเทียม #วิศวกรไทย #คนไทยทำได้
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.