ซึ่งจะเป็นหนึ่งในระยะที่สำคัญของการปฏิบัติภารกิจดาวเทียม การปรับวงโคจรแบบนี้เรียกว่า “Launch and Early Orbit phase (LEOP)”
การปรับนี้เนื่องจากแรงที่มากระทำในอวกาศต่างๆ เช่น แรงดึงดูดจากพระอาทิตย์และพระจันทร์ แรงจากลมสุริยะ แรงเสียดทานจากบรรยากาศ เป็นต้น แรงเหล่านี้ทำให้วงโคจรของดาวเทียมมีการเปลี่ยนแปลงไป การปรับวงโคจรแบบนี้เรียกว่า “Orbit maintenance maneuver”
ในอวกาศมีขยะอวกาศ (ดาวเทียม เศษซากจรวด ที่เสร็จสิ้นภารกิจแล้ว หรือเศษหินในอวกาศ หรือ เศษซากดาวเทียมหรือจรวดที่เกิดจากการชนกันในอวกาศ) ที่โคจรอยู่บริเวณโลก ด้วยความเร็ววงโคจรที่สูงสามารถสร้างความเสียหายให้กับดาวเทียมหรือยานอวกาศได้อย่างมาก แม้จะชิ้นเล็กก็ตาม การปรับวงโคจรแบบนี้เรียกว่า “Collision avoidance maneuver”
ปัจจุบันจำนวนขยะอวกาศมีสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มที่จะหนาแน่นมากอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตอันใกล้ องค์การสหประชาชาติมีการกำหนดแนวทางให้ดาวเทียมที่เสร็จสิ้นภารกิจเรียบร้อย ควรจะตกกลับมาสู่โลกภายใน 25 ปี หรือ กรณีที่อยู่ไกลจากโลกมาก ควรจะเปลี่ยนวงโคจรไปอยู่บริเวณสุสานดาวเทียมในอวกาศ การปรับวงโคจรแบบนี้เรียกว่า “controlled entry maneuver”
ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน
นักวิจัยชำนาญการและหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอวกาศด้านกลศาสตร์วงโคจรของประเทศไทย หรือ Astrolab ของ GISTDA
#GISTDA #จิสด้า #ก้าวสู่ปีที่21 #space #Astrolab #การปรับวงโคจรดาวเทียม #วงโคจร
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.