ระบบปฏิบัติการภาคพื้นดินของดาวเทียมที่อยู่ในโครงการ THEOS-2 ถูกออกแบบให้ระบบทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยดาวเทียมจะโคจรผ่านมาในขอบเขตการติดต่อกับสถานีภาคพื้นดิน ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 3-4 ครั้งต่อวัน โดยแบ่งเป็นช่วงเช้า 1-2 ครั้ง และช่วงกลางคืน 1-2 ครั้ง และสามารถติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมได้โดยประมาณครั้งละ 10 นาที
ในการทำงาน ปกติจะมีการคำนวณแผนงานอัตโนมัติก่อนเวลาที่ดาวเทียมจะผ่านเข้ามาในขอบเขตการติดต่อ โดยเป็นการคำนวณจากฐานข้อมูลที่ใส่ไว้ตามความต้องการถ่ายภาพในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งระบบจะคำนวณแผนการถ่ายภาพที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญต่างๆ เช่น ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม ลำดับความสำคัญของการถ่ายภาพและข้อมูลเมฆ หลังจากนั้นจะส่งแผนงานขึ้นไปยังดาวเทียมอัตโนมัติ เมื่อดาวเทียมผ่านเข้ามาในขอบเขตที่สถานีภาคพื้นดินสามารถติดต่อดาวเทียมได้ก็จำทำการถ่ายภาพ สำหรับแผนการถ่ายภาพจะมีช่วงเวลา 24 ชั่วโมง เช่นเดียวกับดาวเทียมไทยโชต แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ สามารถส่งแผนงานใหม่ได้ในทุกครั้งที่ดาวเทียมผ่านเข้ามาในขอบเขตของการติดต่อ โดยแผนงานที่ส่งขึ้นไปใหม่จะถูกคำนวณให้ทดแทนแผนงานเก่าในบางส่วนของแผนงานนั่นเอง
ส่วนในระบบการทำงานแบบอัตโนมัตินั้น จะมีการส่งแผนงาน 1 ครั้งในการติดต่อดาวเทียมครั้งที่ 1 ช่วงเช้า และส่งแผนงานอีก 1 ครั้งในการติดต่อดาวเทียมในช่วงกลางคืน ในส่วนนี้มีข้อดีคือ ได้ข้อมูลวงโคจร, ข้อมูลเมฆ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสถานะล่าสุด นอกจากนี้เมื่อเกิดความผิดปกติในการคำนวณและส่งแผนงานเกิดขึ้น ระบบยังมีความสามารถในการคำนวณและส่งแผนงานใหม่อัตโนมัติในการติดต่อครั้งต่อไปและระบบปฏิบัติการภาคพื้นดินของดาวเทียม (Satellite Ground Operation System) ประกอบไปด้วย 4 ส่วนงานหลัก คือ
ในด้านการปฏิบัติงานรายวัน (Routine Operation) สำหรับในสภาวะปกติ ทีมวางแผนถ่ายภาพใช้ MGS เพื่อทำการกรอกข้อมูลการสั่งถ่ายภาพ (Imaging Plan) ซึ่งจะประกอบด้วยตำแหน่งหรือพิกัดที่จะถ่ายภาพ, ระดับความสำคัญ และให้ผลิตเป็นภาพแบบใด จากนั้นก่อนที่ดาวเทียมผ่านเข้ามาในขอบเขตการติดต่อกับสถานีภาคพื้นดิน ระบบ MGS จะทำการสร้างแผนการทำงานโดยอัตโนมัติ จากข้อมูลแผนถ่ายภาพ, ข้อมูลวงโคจรที่คำนวณล่วงหน้า และข้อมูลเมฆ เพื่อส่งไปให้ส่วน CGS จากนั้นส่วน CGS จะทำการเปลี่ยนแผนการทำงานที่ได้ให้เป็นคำสั่งและส่งให้กับดาวเทียมโดยอัตโนมัติและดาวเทียมจะทำงานตามแผนดังกล่าวต่อไป
เมื่อดาวเทียมผ่านเข้ามาในขอบเขตการติดต่อกับสถานีภาคพื้นดิน นอกจากจะรับข้อมูลแผนการทำงานแล้ว ยังส่งข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลระบบอุปกรณ์และข้อมูลการทำงานอื่นๆ ของดาวเทียมให้กับสถานีภาคพื้นดินด้วย โดยหลังจากการติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมแล้วเสร็จ ส่วน CGS จะนำข้อมูลตำแหน่งดาวเทียมจากอุปกรณ์ระบุตำแหน่ง (Global Navigation Satellite System: GNSS) ไปประมวลผลและคำนวณวงโคจรล่วงหน้าเพื่อส่งให้ส่วน MGS นำไปใช้วางแผนการทำงาน สำหรับการปฏิบัติงานในช่วงถัดไปโดยอัตโนมัติ และในส่วนของ IGS เมื่อได้รับข้อมูลภาพแล้วจะทำการประเมินข้อมูลเมฆก่อนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ภาพถ่ายดาวเทียมตามชนิดที่ระบุไว้โดยจะเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ
ถึงแม้การปฏิบัติงานโดยทั่วไปของสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินจะทำงานแบบอัตโนมัติ แต่ยังคงมีบางส่วนงานที่ยังคงต้องใช้เจ้าหน้าที่เข้าไปปฎิบัติการ ประกอบด้วย การกรอกข้อมูลรายละเอียดความต้องการถ่ายภาพ, การตัดสินใจในกรณีการถ่ายภาพแบบเร่งด่วน (Last Minute Imaging), การวางแผนปรับวงโคจร, การส่งคำสั่งบำรุงรักษาอุปกรณ์บนดาวเทียม, การวิเคราะห์แก้ไขกรณีดาวเทียมผิดปกติ, การแก้ไขกรณีระบบจานรับส่งสัญญาณมีปัญหา, การแก้ไขกรณีระบบมีปํญหาอื่นๆ รวมไปถึงการบำรุงรักษาระบบนั่นเองครับ
ขอบคุณขข้อมูลจาก
อัฐราวุฒิ เดชผล วิศวกรชำนาญการควบคุมดาวเทียม
#THEOS #GISTDA #จิสด้า #จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #ควบคุมดาวเทียม #satellite
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.