ดาวเทียม THEOS-2 MainSat เมื่อได้รับคำสั่งถ่ายภาพซึ่งเป็นแผนงานจากส่วนวางแผนถ่ายภาพ (MGS) โดยเมื่อดาวเทียมได้ปฏิบัติงานตามคำสั่งถ่ายภาพนั้น ๆ เสร็จเรียบร้อย และดาวเทียมเคลื่อนตัวผ่านพื้นที่ติดต่อ (Coverage Area) สถานีรับสัญญาณดาวเทียมศรีราชา ตัวดาวเทียม THEOS-2 MainSat ก็จะทำการส่งข้อมูลภาพถ่ายลงมายังสถานีรับสัญญาณดาวเทียม จากนั้นข้อมูลจะเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ก็ทำการส่งข้อมูลภาพไปยังผู้ขอใช้ข้อมูลภาพเป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ระบบ DIGINEO สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ (Fully Automatic) เรามาดูกันครับ ว่าข้อมูลภาพที่ได้จากระบบผลิตข้อมูลในขั้นตอนสุดท้ายนั้น อยู่ในรูปแบบไหนบ้าง
ก่อนอื่นเรามาดูรายละเอียดเบื้องต้นกันก่อนนะครับ ดาวเทียม THEOS-2 MainSat เป็นดาวเทียมที่จะโคจรอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 621 กิโลเมตรจากพื้นโลก มีรอบโคจรซ้ำวงโคจรเดิม (Orbit Cycle) ทุก ๆ 26 วัน (มีความสามารถเอียงตัวถ่ายภาพซ้ำพื้นที่เดิมได้ภายใน 2 วัน) มีความกว้างแนวถ่ายภาพ (Swath Width) 10.3 กิโลเมตร ข้อมูลภาพมีจำนวน 5 แบนด์ (PAN, BLUE, GREEN, RED, NEAR INFRARED) โดยภาพ Panchomatic มีความละเอียดจุดภาพ 0.5 เมตร และภาพ Mutispectral มีความละเอียดจุดภาพ 2 เมตร ซึ่งจัดจำแนกอยู่ในกลุ่มดาวเทียมกลุ่มที่ 6 (ความละเอียดช่วง 0.4-0.75 เมตร) เช่นเดียวกับดาวเทียม Pléiades, GeoEye-1, WorldView-1, WorldView-2 และ QuickBird สามารถศึกษารายละเอียด การจัดกลุ่มดาวเทียมเพิ่มเติม ได้ที่ https://fas.org/irp/imint/niirs.htm
ผลิตภัณฑ์ข้อมูลดาวเทียม THEOS-2 MainSat มีให้บริการ 4 รูปแบบ ดังนี้
ระดับการผลิต (Product Level) ผลิตภัณฑ์ข้อมูลภาพจากดาวเทียม THEOS-2 MainSat ที่ผลิตผ่านระบบ DIGINEO มีการปรับแก้ 3 ระดับ ได้แก่
ก็จบกันไปแล้ว สำหรับชุดสาระความรู้ สำหรับข้อมูลภาพจากดาวเทียม THEOS-2 MainSat แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า มาดูกันว่า “คนศรีราชาเล่าเรื่อง” จะนำสาระความรู้เรื่องใดมาเล่าสู่กันฟังอีก รอติดตามอ่านได้เลย วันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ...
#GISTDA #จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #THEOS2 #THEOS2เป็นของคนไทยทุกคน
โดย ว่าที่ร้อยตรีประสิทธิ์ มากสิน
นักเทคโนโลยีอาวกาศชำนวญการ
กลุ่มกรรมวิธีข้อมูลดาวเทียม ภายใต้ กลุ่มภารกิจพิเศษปฏิบัติการดาวเทียมภาคพื้นดิน