Head GISDTDA

เศรษฐกิจอวกาศกับโอกาสด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

เศรษฐกิจอวกาศกับโอกาสด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยมีกลไกของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยบริการด้านอวกาศที่มีความหลากหลายโดยอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นจุดที่ทําให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับอวกาศสามารถ เพิ่มมูลค่าในภาคการผลิต และเป็นกลไกที่ช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอื่นของประเทศเติบโตไปพร้อมกันได้ เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์ ยานยนต์ เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บางส่วน เริ่มสนใจปรับเปลี่ยนกระบวนการมาผลิตชิ้นส่วนดาวเทียม เป็นต้น

 

เศรษฐกิจอวกาศส่งเสริมเศรษฐกิจ

หลายคนอาจมองข้ามไปว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการจํานวนมากที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันก็เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศเป็นองคฤ์ประกอบสําคัญทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกาอัจฉริยะ บริการส่งอาหาร ระบบนําทาง GPS ซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีอวกาศเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล และในอนาคต เมื่อประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง ก็ไม่จําเป็นต้องนําเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนของเทคโนโลยีตํ่าลง และภาคเศรษฐกิจของไทยโดยรวมก็จะสามารถพัฒนาได้รวดเร็ว

 

ตัวอย่างการส่งเสริมเศรษฐกิจด้วยเศรษฐกิจอวกาศ เช่น การมี Spaceport หรือ ท่าอวกาศยาน ใช้เป็นฐานยิงจรวดขึ้นสู่อวกาศ ด้านอุตสาหกรรม Spaceport จะสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้กับบุคคลากรในอุตสากรรมอวกาศโดยตรง รวมถึงอุตสาหกรรมใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการก่อสร้าง อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตลอดจนเกิดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

เศรษฐกิจอวกาศส่งเสริมวัฒนธรรมและสังคม

การจะนําคุณค่าของเศรษฐกิจอวกาศมาสู่สังคมได้นั้น สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล สําหรับประเทศไทยแม้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของอุตสาหกรรมอวกาศ แต่การดําเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ ตามบริบทแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย

 

โดย GISTDA มุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ ความรู้ด้านอวกาศของประเทศผ่านโครงการ THEOS-2 ซึ่งเป็นกลไกสําคัญผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทําให้เกิดเป็น Ecosystem ที่เอื้อต่อการสร้าง New Space Economy ของประเทศ เกิดการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอวกาศที่มุ่งเน้นนวัตกรรมด้านภูมิสารสนเทศ โดยหัวใจสําคัญของการพัฒนา คือความเข้าใจความเดือดร้อนของประชาชนคนไทย การเลือกใช้วิธีแก้ไขและมีข้อมูลสนับสนุนที่เหมาะสม นําไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด เพราะเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศไทย คือ การช่วยให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น

 

เศรษฐกิจอวกาศส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบัน นอกจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศเข้าสู่ภาคธุรกิจ และนําไปสู่การต่อยอดอุตสาหกรรม New S Curve ให้กับประเทศ ยังมีการนําเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น การจัดการคุณภาพอากาศ ฝุ่นละออง ไฟป่า หมอกควัน ขยะ การจัดการคุณภาพนํ้า และมลพิษในทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา แลกเปลี่ยนความรู้ ยกระดับความสามารถของบุคลากร เครื่องมือ นวัตกรรมในการบริหารจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

 

ทั้งหมดนี้นับเป็นโอกาสของประเทศไทยสู่เส้นทางเศรษฐกิจอวกาศที่ครอบคลุมหลายมิติ การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศท้ังองค์ความรู้และนวัตกรรม สามารถนําไปประยุกต์ใช้และต่อยอดได้หลากหลายอุตสาหกรรม

 

อ้างอิง

https://www.salika.co/.../thailand-spaceport-space-economy/

amorn.pet 7/10/2565 0
Share :