Head GISDTDA

AIP

AIP คือ กระบวนการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด เพื่อการกำหนดนโยบายที่นำไปปฏิบัติได้จริง เป็นตัวช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Big Data แทนสมองของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอแนวทางหรือแผนงานได้หลากหลาย ทันสถานการณ์ มีความสมดุล และถูกต้องแม่นยำ

เริ่มต้นความท้าทายกับ AIP...

          การจะขับเคลื่อนแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกันในทุกมิติ และสร้างความเป็นธรรมทั้งในระดับพื้นที่ ระดับกลุ่ม และระดับบุคคลนั้น จำเป็นต้องวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูลที่ถือได้ว่าเป็น Big Data ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความ Intelligence เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการคิด ประมวลผล และเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการและขับเคลื่อนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

          การดำเนินการแบบ Intelligence นี้ สามารถใช้เสริมหรือทดแทนการบริหารจัดการด้วยวิธีแบบเดิม ๆ ที่ปฏิบัติมานานหลายสิบปี.... เครื่องมือที่ว่านี้คือ Actionable Intelligence Policy Platform หรือ AIP Platform ที่จะช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลแทนสมองของมนุษย์ ช่วยให้สามารถมองเห็นภาพความเชื่อมโยงของปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ มีความสมดุล และความถูกต้อง ทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา นำไปสู่ทางเลือกการตัดสินใจที่ดีที่สุดที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วเราจะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามก็ได้ เพราะการตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่มนุษย์

          นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถบอกได้อีกว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น หน่วยงานใดบ้างต้องร่วมกันดำเนินการ มีแนวทางดำเนินการอย่างไร ใช้ทรัพยากรเช่นกำลังคนหรืองบประมาณเท่าไร นอกจากนี้ ระบบยังรองรับการติดตามผลการดำเนินการ เพื่อทบทวน ตรวจสอบ ปรับปรุงประสิทธิภาพ สร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติได้อย่างสูงสุด

ตามติดแนวคิด AIP

          หน้าที่หลักสำคัญของ Actionable Intelligence Policy Platform : AIP คือ ช่วยกลั่นกรองและวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Big Data แทนสมองของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอแนวทางหรือแผนงานได้หลากหลาย ทันสถานการณ์ มีความสมดุล และถูกต้องแม่นยำ

          ยกตัวอย่างเมื่อนำ AIP เข้ามามีส่วนร่วม เช่น ถ้าหากผมจะทำท่าเรือ ผมจะให้ความสำคัญกับการลงทุนเป็นหลักว่าลงทุนไปแล้วจะคุ้มค่าไหม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างไร

          แล้วมีใครบ้างที่จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ หรือจะต้องมีอะไรในพื้นที่โดยรอบเพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น อาจจะต้องมีการสร้างห้างสรรพสินค้า หรือโรงพยาบาล หรือสวนสาธารณะเพิ่มเติมในพื้นที่หรือไม่ หรืออาจจะต้องมีที่อยู่อาศัย และโรงเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการมีท่าเรือจะก่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มแรงงานที่มีครอบครัว ดังนั้น การมีสิ่งสาธาณูปโภครองรับ จึงเป็นการเสนอทางเลือกเพื่อการตัดสินใจให้กับเจ้าของโครงการได้ว่าจะทำหรือไม่ทำ เป็นต้น

ทำไมต้องพัฒนา EEC ด้วย AIP !?...

          ที่ผ่านมา การพัฒนาอาจให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมน้อยเกินไป เพราะต้องการเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว จึงทำให้เกิดความ แตกต่างและความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเราต้องดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงฯ ด้วยความที่ EEC เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่มากกว่าหลายเท่า ทำให้หน่วยงานจำนวนมากต้องปฏิบัติตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งไม่มีทางที่จะวิเคราะห์ข้อมูลแผนงาน โครงการได้ทั้งหมด

          ดังนั้น การขับเคลื่อนแผนงานต่างๆ ในพื้นที่ EEC ให้มีความสอดคล้องกันในทุกมิติ และเท่าเทียมกันทั้งใน ระดับประเทศ ระดับพื้นที่และระดับบุคคล ถือเป็นสิ่งสำคัญ ต้องอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความ Intelligence เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนโยบาย และเพื่อเสริมหรือทดแทนการบริหารจัดการด้วยวิธีแบบเดิมๆ

AIP ทางเลือกที่ทำให้ “น่าน” รอด....

          น่าน เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่ประสพปัญหาทางด้านทรัพยกรป่าไม้ และที่ดินทำกิน ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ จนทำให้เกิดการบุกรุกป่าทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์  อีกทั้งยังทำให้ก่อเกิดหนี้สินจากการลงทุนทำการเกษตร จนนำไปสู่รายได้ที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น ซึ่งปัญหาที่กล่าวมานั้น จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีแบบแผน และมีประสิทธิภาพร่วมกัน

          ดังนั้น การบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีแบบแผน และมีประสิทธิภาพร่วมกัน จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา รวมถึงสร้างทางเลือก อย่าง AIP เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างงาน สร้างรายได้ อย่างทันท่วงที ในจังหวัดน่าน

AIP เป็นเครื่องมือที่ประเทศไทยต้องการ

          ซึ่ง อว. โดยจิสด้า กำลังดำเนินการพัฒนาภายใต้โครงการธีออส 2 ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการสร้างดาวเทียม แต่เป็นการสร้างคุณค่าจากข้อมูลดาวเทียมของไทย รวมถึงสร้างคุณค่าจาก Big Data ที่เกิดขึ้นจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจาก Sensor จาก Smart Phone ดังนั้น AIP จึงเป็น Platform ที่มีความ Intelligence นำ Big Data เหล่านี้ มาตอบโจทย์ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประเทศนั่นเอง

AIP กับ 5M...

          GISTDA ใช้ศาสตร์ 5 M เป็นระเบียบวิธีในการดำเนินงาน ของ AIP เพื่อยกระดับกระบวนทัศน์การบริหารจัดการให้กับประเทศ ตอบสนองการสร้างนโยบายที่เหมาะสมกับการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ โดยการ Mapping ทำข้อมูลเชิงพื้นที่  -> Monitoring ติดตามการเปลี่ยนแปลง -> Modeling ทำแบบจำลองเพื่อการคาดการณ์ผลลัพธ์ในอนาคต -> Measurement การวัดผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อเลือกการดำเนินงานที่เหมาะสมที่สุด -> Management การบริหารจัดการ ซึ่งจุดเน้นคือการ Management ได้มีการนำเอาส่วน“ความคิดเห็นของพึงพอใจ”ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับที่มีต่อ“นโยบาย”ระดับประเทศเพื่อการวิเคราะห์ว่าการดำเนินนโยบายนั้นมีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร เป็นประโยชน์และสามารถปฏิบัติได้จริง

ระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ (Intelligence)

          ระบบที่จะมาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้นในเรื่องของการคำนวนต่างๆ อาทิ เรื่องของบัญชี ตลาดหุ้น การวิเคราะห์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงในเรื่องของภูมิสารสนเทศ อย่างเช่นการแปลผลภาพถ่ายดาวเทียมอัตโนมัติ.... การที่องค์กรต่างๆ นำระบบ Intelligence มาใช้เยอะขึ้นเพื่อทดแทนในส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก (ฺBig Data) ได้ในเวลารวดเร็วและสั้นเหมือนกับระบบ Intelligence ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จากสถิติและแนวโน้มเพื่อได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างเช่นเรื่องการพัฒนาการขยายตัวของเมืองและชุมชน การบริหารจัดการน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ โดย GISTDA ได้นำระบบ Intelligence มาใช้ใน AIP เพื่อการคิดวิเคราะห์ Big Data บริหารจัดการเพื่อสะท้อนข้อเท็จจริงเชิงพื้นที่ที่มีผลมาจากการจำลองการดำเนินนโยบาย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดและเร็วที่สุดกับพื้นที่การดำเนินงาน

แบบไหนที่เรียกว่า Big Data ??

          เมื่อเราต้องการรู้อะไรบางอย่าง เราทำการค้นหาข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ป่าในประเทศไทยเหลือเท่าไร มีจำนวนประชาชนเท่าไรที่อยู่ในเขตป่าสงวน โรงงานอุตสาหกรรมีกี่โรงงานในชลบุรี ประชาชนกี่ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกดึงขึ้นมาแสดงให้เราเห็นใน AIP เมื่อเราทำการดึงข้อมูลจากหน่วยงานพันธมิตร จากการแปลผลภาพถ่ายดาวเทียมอัตโนมัติ นั่นแหละคือการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ที่สามารถเชื่อมโยงและนำมาแสดงให้ผู้ใช้งานได้ดู ข้อมูลที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก จะถูกสำรวจและจัดเก็บตามหมวดหมู่ และจะถูกเรียกใช้งานตามที่ผู้ใช้ต้องการสืบค้นหรือค้นหา ระบบจะจำว่า ข้อมูลใดอยู่ที่ใด จากหลากหลายแหล่งประกอบกัน ดังนั้น การที่เรามีข้อมูลที่หลากหลายจะทำให้เราสามารถบริหารจัดการในองค์รวมได้ โดยนำระบบ Intelligence มาช่วยคำนวณ สร้างการตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินงานอย่างไรกับพื้นที่ เพืื่อสร้างความสมดุลที่สุด เหมาะสมที่สุด ในเรื่องของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :  ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและบริการ |  โทร.021414593  |   อีเมล marketing@gistda.or.th 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง:
TAG: AIP
Admin 2
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง