3 พฤษภาคม 2564 เวลา 9:30 – 11:30 น. เจ้าหน้าที่กลุ่มภารกิจพิเศษด้าน AIP ประสาน สอร. 3C ขอหารือผ่านระบบ Google Meet
เพื่อเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและทำความเข้าใจเรื่อง AIP ร่วมถึงการพูดคุยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานในพื้นที่ EEC และน่าน ภายใต้โครงการ THEOS2 สอร. 3C
นำโดยนายณัฐวัฒน์ (ผช.ผอ.สอร.) และเจ้าหน้าที่ สอร. 3C กว่า 20 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยน พูดคุยและเสนอแนะ ในประเด็นต่างๆอย่างเป็นประโยชน์ต่อ AIP อาทิ
1. AIP น่าจะเป็นงานเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริหาร หรือนำไปใช้ในการตัดสินใจ แต่สิ่งที่นำเสนอในประเด็นของเรื่องข้าวคือสำหรับประชาชน ตกลงแล้วเป้าหมายของผู้ใช้คือกลุ่มไหน
2. ถ้าเป็น Scale ระดับจังหวัดระดับนโยบาย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในระดับหัว (ผู้ว่าฯ) การทำงานจะต่อเนื่องหรือเปล่า และจะแก้ป้ญหาอย่างไร
3. ด้วยความที่ AIP เป็นการรวบรวมข้อมูล หากเกิดประเด็นปัญหาเร่งด่วน เช่น เรื่อง Covid-19 จะมีการเพิ่มข้อมูลอย่างไร เพื่อให้เกิดนโยบายโดยเร็ว
4. ในแต่ละจังหวัดมีปัญหาไม่เหมือนกัน ดังนั้น model ที่คิดสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในจังหวัดอื่นได้หรือไม่ นอกจากจังหวัดน่าน
5. ภายในองค์กรมีการนำ AIP Platform มาใช้ในการบริหารองค์กรหรือไม่ เช่น แผนการดำเนินงานต่าง ๆ (ที่ไม่ใช่โครงการภายนอก)
6. ภารกิจ AIP นี้ มี business model หรือไม่ เนื่องจากอยากทราบว่า จะสามารถทำให้เกิดรายได้เข้า สทอภ. อย่างไรได้บ้าง
7. นอกจาก AIRBUS มี บริษัท/หน่วยงานต่างชาติสนใจเข้ามาแชร์ Data บ้างไหม
8. มีหน่วยงานไหนที่มีภารกิจทับซ้อนกับ AIP บ้าง แล้วเค้าสนับสนุนข้อมูลเรามั้ยหรือเราต้องแข่งกับเค้า
9. มีแผนจะทำ Scale ระดับประเทศมั้ย ถ้ามี AIP มองว่า มี Solution อะไร ที่ครอบคลุมทั้งประเทศ
10. “ข้อเสนอแนะ” ในเรื่องของการนำ Platform AIP ไปใช้ภายในองค์กร จริงๆ สทอภ. ควรนำมาใช้เป็นตัวอย่างก่อน เพื่อทุกคนภายในองค์กรจะได้ทราบและเข้าใจ Platform นี้ จึงสามารถนำไปช่วยสื่อสารภายนอกต่อไปได้
โดยครั้งต่อไปกลุ่มภารกิจพิเศษด้าน AIP จะ Online พบปะพี่น้องชาว ฝบว. และ ฝทก. ในวันพุธที่จะถึงนี้ (5 พ.ค. 64)