Head GISDTDA

Sphere_เคลียร์_ครบ_จบในแพลตฟอร์มเดียว

#ทำความรู้จักกับแพลตฟอร์มข้อมูลมหภาคเชิงพื้นที่
#Sphere_เคลียร์_ครบ_จบในแพลตฟอร์มเดียว
.
โลกทุกวันนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูล ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างแน่นอน ทั้งในการพัฒนาของภาครัฐ การศึกษาวิจัย และในภาคธุรกิจ ดังคำกล่าวที่ว่า ‫“‬Data is Power” แล้วจะดีแค่ไหนหากประเทศไทยสามารถมีแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านภูมิสารสนเทศ ที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ครบในแพลตฟอร์มเดียว‬‬
.
และนี่คือเหตุผลที่วันนี้ GISTDA อยากเชิญชวนให้ทุกคนได้มารู้จักกับ The Open Geospatial Platform : Sphere หรือที่เรียกว่า “Sphere” แพลตฟอร์มข้อมูลมหภาคเชิงพื้นที่แบบเปิด ให้บริการ Map API และ Web services เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการพัฒนานวัตกรรม ที่มีทั้งข้อมูลหลากหลาย ได้มาตรฐาน และความสามารถที่ครบครัน ขอนิยามสั้น ๆ ให้กับแพลตฟอร์มนี้ว่า “Sphere เคลียร์ ครบ จบ ในแพลตฟอร์มเดียว”
.
#ว่าแต่มันครบ_จบ_และ_เคลียร์_ยังไง?
.
หากใครรู้จักแพลตฟอร์ม Google Map APIs น่าจะพอนึกภาพออก ว่า “ครบ” “จบ” ที่ว่าเป็นอย่างไร ซึ่ง Sphere สามารถให้บริการได้ไม่ต่างจาก Google Map APIs เลย ต่างกันที่ Sphere นั้น รู้จักประเทศไทยดีกว่า Google และแน่นอนว่าทุกคนสามารถใช้ Sphere แทน Google Map APIs ได้เลย
.
สำหรับคนที่ยังไม่เคยลองใช้บริการแพลตฟอร์ม Google Map APIs เลยอาจจะยังนึกภาพไม่ออก ว่าตกลงแล้ว Sphere ให้บริการอะไรบ้าง แล้วมันมีประโยชน์ยังไง ขอสรุปแบบสั้นๆ ให้เข้าใจกันได้ง่ายมากขึ้น คือ..
.
#ข้อมูล_ครบ_สร้างแอปพลิเคชัน_จบ_ได้ในแพลตฟอร์มเดียว
.
คำว่า ข้อมูล “ครบ” ไม่ได้หมายถึงแค่การมีข้อมูลเยอะ แต่คลังข้อมูลเชิงพื้นที่ใน Sphere หรือที่เรียกว่า Data Cube นอกจากมีความหลากหลายแล้ว ยังได้มาตรฐาน สามารถใช้ร่วมกับ platform อื่นๆ ได้ในรูปแบบออนไลน์ ที่สำคัญคือง่ายต่อการค้นหาและเข้าถึง มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องย้อนหลังหลายปี และยังอัพเดตต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละห้วงเวลาอีกด้วย ผู้ใช้งานสามารถสร้างการประมวลผลข้อมูลด้านแผนที่ และ Space-Time แบบออนไลน์ง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “Open Data Cube”
.
และแน่นอนว่า Sphere ไม่ได้มีดีเพียงบริการข้อมูลเท่านั้น ยังมีฟังก์ชัน Map Maker ให้เราสามารถสร้างและนำเสนอ Web Application ด้านภูมิสารสนเทศ ได้อย่างง่ายดาย เพียงเลือกหยิบข้อมูลที่ต้องการ มาประมวลผลด้วยฟังก์ชันของ Sphere พัฒนาสู่ข้อมูลเชิงลึก และสร้างเป็น Application เพื่อเล่าเรื่องราวของข้อมูลตามแบบฉบับของเราเอง ผ่าน Open Portal เครื่องมือการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย พัฒนาสู่นวัตกรรม หรือ Solution ในเชิงพื้นที่ สนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ได้ แบบที่เรียกว่า Low-code, High efficiency ที่แม้จะไม่เชี่ยวชาญทางเทคนิค ก็สามารถสร้าง Application ที่มีประสิทธิภาพได้
.
โดย Sphere จะมี API Service ที่เรียกว่า GISTDA Sphere API เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน พร้อมให้ทุกคนสามารถไปเลือกหยิบจับมาต่อยอดไอเดียการทำงานได้อย่างอิสระ และสามารถรองรับการใช้งานบนหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น JavaScript, iOS, Android, Flutter, React Native ทั้งการแสดงผลภาพแผนที่ การค้นหาสถานที่ การคำนวณเส้นทาง การค้นหาระดับความสูงจากน้ำทะเล หรือความเหมาะสมในการปลูกพืชประเภทต่าง ๆ ซึ่งสามารถเรียกใช้งานได้อย่างง่ายดายผ่าน Web Services
.
นอกจากการสร้างแผนที่และแอปพลิเคชันแล้ว อีกฟังก์ชันเด่นที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ Where App แอปพลิเคชันผู้ช่วยเรื่องข้อมูลที่ตอบโจทย์ทั้งการเดินทางและข้อมูลเชิงพื้นที่ กับระบบค้นหาเส้นทางแบบ Turn by Turn Navigation ที่จะเป็นตัวช่วยเสริมด้านข้อมูล ทำให้สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เลี่ยงเส้นทางภัยพิบัติได้ และยังเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างการเดินทางอย่างครบครันอีกด้วย พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่า นี่คือ Google Map เวอร์ชันประเทศไทยนั่นเอง
.
#แพลตฟอร์มแบบเปิด_สร้างสรรค์ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ
.
Sphere เลือกใช้เทคโนโลยี Open Source และ Open Standard ในการพัฒนา อธิบายง่าย ๆ คือ มีการเปิดเผย Source Code ของระบบ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นมาตรฐานเปิด หรือหมายความว่า ทุกคน ทุกแอปพลิชัน สามารถเชื่อมต่อกับ Sphere ได้ ตรงนี้คือคำขยายความของคำว่า “เคลียร์” ในนิยามที่บอกไปตอนต้น
.
แล้วทำไมเราจึงเลือกใช้เทคโนโลยีเปิด? เพราะก้าวแรกของการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ย่อมเริ่มจากการแบ่งปัน ต้องทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรข้อมูลและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพได้ เพื่อสามารถใช้ประโยชน์จากระบบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างอิสระ นักพัฒนาสามารถฝึกทักษะเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพออกมาได้มากขึ้น เป็นการขยายขอบเขตของการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ออกไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
.
การเกิดขึ้นของ Sphere ในประเทศไทย นับเป็นอีกหนึ่งก้าวแรกของการยกระดับอุตสาหกรรมอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาโดยคนไทยเอง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีของต่างชาติ และใช้ข้อมูลที่จัดทำโดยประเทศไทยเอง ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลเหล่านี้เพื่อ “สร้าง” คุณค่าในรูปแบบต่าง ๆ ได้ในแบบฉบับของตัวเอง เพราะหัวใจสำคัญของ Sphere คือ “Accessible” การยกระดับความสามารถในการเข้าถึง “เข้าถึง” ในที่นี้มิใช่เพียงการสามารถเข้าใช้งานระบบได้เท่านั้น แต่หมายถึงการสามารถเข้าถึงประโยชน์จากการใช้ข้อมูลและเครื่องมือของ Sphere เพราะเราไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญก็สามารถใช้งาน Sphere ได้ และยังรวมไปถึงการเข้าถึงองค์ความรู้จากการพัฒนาต่อยอดไอเดียใหม่ ๆ อีกด้วย
.
แน่นอนว่าก้าวแรกอาจยังไม่สมบูรณ์นัก แต่การเปิดใช้งานในวงกว้างจะทำให้มี Feedback กลับมาพัฒนา Sphere ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ เพราะนี่ไม่ใช่ก้าวสุดท้าย GISTDA และ Sphere จะเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้ใช้งานและนักพัฒนาระบบ เพื่อสร้างคุณค่าและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในวงการภูมิสารสนเทศไทยอย่างไม่มีสิ้นสุด
.
สำหรับใครที่สนใจอยากรู้จัก Sphere มากขึ้น ปัจจุบัน Sphere เปิดให้ทดลองใช้งานได้แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://sphere.gistda.or.th/
.
#จิสด้าก้าวสู่ปีที่22 #จิสด้า #GISTDA #อวกาศ #sphere #การเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูล #Data #แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านภูมิสารสนเทศ #webservice #datacube #Mapmaker 

phakpoom.lao 25/1/2023 0
Share :