Head GISDTDA

สทอภ. ใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการข้าวโดยชุมชนและ GISagro สนับสนุนการพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

 24 สิงหาคม 2559 พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ในโอกาสนี้ ท่านนายกรัฐมนตรี และคณะพร้อมด้วย ดร.พิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเป็น สักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ระหว่าง ดร.วีระพงษ์  แพสุวรรณ  ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กับผู้ว่าราชการ จังหวัด 5 จังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลา ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดมหาสารคาม เพื่อนำ วทน. มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาข้าวหอม มะลิทุ่งกุลาตลอดห่วงโซ่คุณค่า พัฒนาและสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมข้าวไทยสู่ระดับสากลเพื่อผลักดัน ให้มีการนำองค์ความรู้งานวิจัยไปสู่การปฏิบัติยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างสมดุลให้ภาคเกษตรกรไทย
การนี้ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อย ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัด และกระทรวงฯ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการที่ สทอภ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่นำ วทน. ไปจัดแสดงในครั้งนี้ ประกอบด้วย

     - ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการข้าวโดยชุมชน พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็น  ระบบฯ ที่ สทอภ. พัฒนาขึ้นเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ข้อมูล ทำให้ชุมชนจะมีระบบติดตามการปลูกข้าวรายแปลงที่ทันสมัยและหน่วยงานในท้องถิ่น มีระบบติตตาม และ บริหารจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการวางแผนการเพาะปลูก การคาดคะเนผลผลิต การ กำหนดนโยบาย การตัดสินใจ และส่งเสริมสนับการปลูกข้าวได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้งการที่ชุมชนมีระบบ จัดการที่ดีจะทำให้ชุมชนเกิดเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ยั่งยืน และเป็นองค์ความรู้ให้ชุมชนอื่นๆ ได้มาเรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ โดยจะดำเนินการในจังหวัดร้อยเอ็ด ในปีงบประมาณ 2560 และจะขยายไปอีก 4 จังหวัด ในปีงบประมาณถัดไป

     - ระบบ GISagro เพื่อการลงทะเบียนเกษตรกร พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สทอภ. ได้พัฒนาและสนับ สนุนระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการเกษตร GISagro ให้กับกรมส่งเสริมการเกษตร  ในการลงทะเบียนเกษตรกร รายแปลงแบบ On Line โดยในปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดได้ลงทะเบียนในระบบนี้แล้วทั้งสิ้น 155,671 แปลง และยังคงมีการดำเนินการลงทะเบียนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรได้รับสิทธิประโยชน์ ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่สำรวจ และสามารถเขียนแปลงผ่านระบบ ซึ่งปัจจุบัน เปิดให้ใช้บริการ

Admin 25/8/2559 0
Share :