Head GISDTDA

จิสด้า ส่งเสริมการใช้ประโยชน์นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ เพื่อการจัดการข้าวโดยชุมชน พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ G-Rice Thungkula ร่วมกับชุมชน ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

 ระหว่างวันที่ 1 - 5  เมษายน 2562 GISTDA ลงพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดสุรินทร์ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ เพื่อการจัดการข้าวโดยชุมชน พื้นที่ทุ่งกุลา G-Rice Thungkula” โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดสุรินทร์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาของจังหวัดสุรินทร์อย่างเป็นระบบ และเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน อีกทั้งเป็นการสร้างความตระหนัก ให้เกษตรกร ชุมชน ได้ทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้นวัตกรรมมาจัดการและสร้างมูลค่าให้กับข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนและหน่วยงานในท้องถิ่น ได้นำนวัตกรรม เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่เปลี่ยนการทำการเกษตรแบบเดิม ไปสู่การเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจไทย ให้เติบโตอย่างมั่นคง ประขาชน เกษตรกร และชุมชนมีรายได้ที่มั่งคั่ง และอยู่ดี กินดี มีสุขอย่างยั่งยืน

   การส่งเสริมการใช้ประโยชน์นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ เพื่อการจัดการข้าวโดยชุมชน พื้นที่ทุ่งกุลา G-Rice Thungkula ในครั้งนี้ ได้มีการจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูล ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มนาแปลงใหญ่/กลุ่มผู้ปลูกข้าวปลอดภัย (GAP)/กลุ่มข้าว GI และกลุ่มข้าวอินทรีย์ ทั้ง 8 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. กลุ่มนาแปลงใหญ่เกษตร GAP (สมาชิก 224 คน)  ที่อยู่ : หมู่ที่ 7 ต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
2. กลุ่มวิจัยนาแปลงใหญ่ บ้านโพนม่วง-บ้านม่วงสวรรค์ (แปลงใหญ่ 39 คน , GI 39 คน , อินทรีย์ (T3) 10 คน) ที่อยู่ : 307 หมู่ที่ 7 ต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
3. กลุ่มผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีนาแปลงใหญ่บ้านบ่อแก (แปลงใหญ่ 98 คน, GI 35 คน, อินทรีย์ (T2) 16 คน, (T3) 25 คน) ที่อยู่ : 137 หมู่ที่ 2 บ้านบ่อแก ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
4. นาแปลงใหญ่บ้านจันทร์หอม ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี (แปลงใหญ่ 95 คน , GI 43 คน , อินทรีย์ (T2) 37 คน ) ที่อยู่ : 13 หมู่ที่ 13 ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง (แปลงใหญ่ 205 คน, อินทรีย์ (T2) 26 คน, กลุ่มวิสาหกิจ 60 คน) ที่อยู่ : 32 หมู่ 12 ต.ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
6. หอมมะลิแปลงใหญ่ทุ่งโพนครก (100 คน)  ที่อยู่ : หมู่ที่ 7 ต.โพนครก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
7. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านตานบ (100 คน) ที่อยู่ : 131 หมู่ 4 ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
8. ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านม่วงน้อย (GAP 85 คน, GI 33 คน, แปลงใหญ่ 200 คน) ที่อยู่ : 13 หมู่ที่ 3 ต.สระขุด อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์

   ประโยชน์ที่วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มนาแปลงใหญ่/กลุ่มผู้ปลูกข้าวปลอดภัย (GAP)/กลุ่มข้าว GI และกลุ่มข้าวอินทรีย์ ทั้ง 8 กลุ่ม ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ของจังหวัดสุรินทร์ ได้รับจากการส่งเสริมในครั้งนี้ กลุ่มจะมีข้อมูลทะเบียนสมาชิกซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการฐานข้อมูลด้วยตนเองให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต รวมทั้งเป็นข้อมูลที่สำคัญในการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มผลิตขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ข้าว อันนำมาซึ่งรายได้ของเกษตร กลุ่มต่างๆ และชุมชน สร้างความกินดีอยู่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Admin 11/4/2562 0
Share :