Head GISDTDA

2 ผลงานสุดยอดไอเดียคว้ารางวัลชนะเลิศ UAV Application 2018

โค้งสุดท้ายในการคัดเลือกหาสุดยอดไอเดียเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ในงาน THAILAND AEROSPACE YOUTH FORUM อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดการแข่งขันรอบสุดท้าย โครงการประกวดธุรกิจนวัตกรรม ด้าน UAV Application

 

กิจกรรมในครั้งจัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสตาร์ตอัพในไทยให้เติบโตมากขึ้นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีแผนสนับสนุนสตาร์ตอัพ ภายใต้กิจกรรม MOST Startup ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ ให้เติบโตอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเป้าหมายในกลุ่มธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมจากผู้ประกอบการขนาดเล็กเป็นอย่าง มาก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ  อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตและนำเข้าที่ไม่สูงมากนัก อีกทั้งมีตลาดผู้ใช้งานที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น รวมถึง UAV สามารถประยุกต์เข้ากับงานได้หลากหลายประเภท เช่น งานสำรวจด้วยภาพถ่าย ด้านการจัดทำแผนที่ บริหารจัดการพื้นที่การเกษตรและป่าไม้ ความเปลี่ยนแปลงสภาวะของสิ่งแวดล้อม การป้องกันและประเมินผล กระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ อุบัติภัย ตลอดจนด้านการเกษตร ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ประกอบการใน ประเทศไทย ให้มีการพัฒนาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จิสด้าในฐานะหน่วยงานรัฐที่มีจุดแข็งในด้านการศึกษาและผลิต UAV เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ใช้บินสำรวจพื้นที่ทางอากาศได้อย่างแม่นยำ รวดเร็วทันความต้องการ และประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ที่เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านนวัตกรรมของภาคการผลิตและบริการ เพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มที่สูงจากการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม โดยอาศัยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด การสร้างระบบนวัตกรรมของประเทศ ผ่านการขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมจากผู้ประกอบการไทย จึงร่วมกันจัดกิจกรรม UAV Startup 2018 ภายใต้กรอบแนวความคิด Autonomous System & Data Analytic เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสอดคล้องและตอบโจทย์ความต้องการของ ตลาดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

การประกวดในครั้งนี้มีผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 10 ผลงาน จากทั้งหมด 10 ทีม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นอย่างมาก มีแนวคิดในการออกแบบและนำเสนอแบบคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดย 2 ผลงานที่ชนะใจกรรมการคว้ารางวัลชนะเลิศได้แก่ ผลงานนวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออก จากทีมบริษัท อาร์แอนด์ดี เอ็นไว-อินโนเทค จำกัด และผลงานอากาศยานไร้นักบินสาหรับผลิตกุ้งในระบบปิดโดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ จากทีมศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งผู้ชนะจะได้รับโล่รางวัลและการส่งเสริมต่อยอดผลิตภัณฑ์ Business matching และร่วมผลักดันเข้าโครงการแผนการพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Entrepreneurial Development Program (EDP) เพื่อสร้างความเป็นเลิศในการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมไปถึงสิทธิ์การเข้าวิจัยและทดสอบในห้องปฏิบัติการความเป็นเลิศและนวัตกรรมการบินและอวกาศ หรือ "กาแลคซี่" เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการสร้าง UAV Ecosystem ในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Admin 15/9/2561 0
Share :