Head GISDTDA

ใช้ดาวเทียมหลายดวง เพื่อประโยชน์ที่มากกว่า

ก่อนหน้านี้ แอดมินเคยนำเสนอการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อการติดตามสถานการณ์ไฟป่าไปแล้ว วันนี้ในธีมเรื่องเกี่ยวกับไฟป่าจะขอนำเสนอสาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการไฟป่าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ครับ

.

ปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมหลายดวงและหลายเซนเซอร์หรือระบบ ไม่เพียงแต่เพื่อภารกิจการติดตามและวิเคราะห์จุดความร้อน (Hotspot) ทั้งยังเพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่ถูกเผาไหม้และสร้างฐานข้อมูลประเภทของการใช้ประโยชน์จากที่ดิน อาทิ ดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS, ดาวเทียม Terra และดาวเทียม Aqua ระบบ MODIS ซึ่งทั้ง 2 ระบบพัฒนาโดย NASA นอกจากนั้นยังมี ดาวเทียม Sentinel ของสหภาพยุโรป ดาวเทียม Landsat จาก USGS รวมทั้งดาวเทียมไทยโชตของประเทศไทยเราเอง ซึ่งดูแลโดย GISTDA เพื่อการตรวจสอบเกี่ยวกับพื้นที่เกิดไฟไหม้หรือจุดความร้อนนั้นเกิดขึ้นในพื้นที่ประเภทใด และวิเคราะห์จุดความร้อนสะสมทั้งในพื้นที่ภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน

.

การเตรียมฐานข้อมูลให้มีความพร้อมและอัพเดทอยู่เสมอ โดยเฉพาะฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีตามสถานการณ์จริง เพื่อความถูกต้องของการวิเคราะห์ตำแหน่งของพื้นที่เกิดไฟ โดยทาง GISTDA ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และอัพเดทข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมจากหลากหลายดวงและระบบ

.

ข้อมูลจากดาวเทียมจากหลายระบบยังสามารถช่วยทำให้เกิดการ Cross check ตรวจสอบ False alarm เพื่อให้ข้อมูลจุดความร้อนมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญที่ต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงและหลายเซนเซอร์นั้นก็เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลส่งผลให้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามสถานการณ์ให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งยังนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อคาดการณ์พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดไฟป่าขึ้นได้อีกด้วย

.

นอกจากการติดตามจุดความร้อนแล้ว GISTDA ยังใช้ข้อมูลจากดาวเทียมหลากหลายระบบเหล่านี้ มาทำการวิเคราะห์ ร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ไฟป่า อาทิ การระบุพื้นที่เผาไหม้ หรือ Burn area รายจังหวัดแบบรายวัน, การวิเคราะห์ขนาดของพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหายโดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจเช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น, การวิเคราะห์ข้อมูลแหล่งการเกิดฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตด้านสุขภาพของประชาชน และติดตามสถานการณ์เผาไหม้รายจังหวัดและรายวัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้กับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม และฟื้นฟู ต่อไปครับ

.

ในอนาคตอันใกล้ ดาวเทียม THEOS-2 ที่เพิ่งขึ้นไปสู่วงโคจรเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา จะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพในการติดตามสถานการณ์ให้มีความครอบคลุมและแม่นยำยิ่งขึ้น และสามารถติดตามข้อมูลผ่านช่องทางการเผยแพร่ผ่าน https://fire.gistda.or.th/

#GISTDA #อว #ไฟป่า #จุดความร้อน #hotspot #พื้นที่เผาไหม้ #Burnarea #วิเคราะห์ขนาดของพื้นที่เกษตร #วิเคราะห์ข้อมูลแหล่งการเกิดฝุ่น #PM2point5 #ดาวเทียม #THEOS2

phakpoom.lao 23/1/2567 263 0
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง