องค์กรด้านอวกาศโลก 4 แห่งร่วมคาดการณ์จุดตกของชิ้นส่วนจรวดลองมาร์ช 5 บี วาย 4 ดังนี้
1. CSpOC (จุดสีเหลือง) คาดการณ์เบื้องต้นเป็นมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ทะเลทาสมัน
2. EU SST (จุดสีแดง) คาดการณ์เบื้องต้นเป็นมหาสมุทรแอตแลนติก
3. aerospace cooperation (จุดสีม่วง) คาดการณ์เบื้องต้นเป็นมหาสมุทรแปซิฟิก
4. GISTDA (จุดสีน้ำเงิน) คาดการณ์เบื้องต้นเป็นมหาสมุทรอินเดีย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข้างต้นเป็นการคาดการณ์เบื้องต้นเท่านั้น และยังคงต้องวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ GISTDA โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ ยังได้แจ้งเตือนแนวโน้มที่จะตกอยู่ในช่วงเวลา 16.25 น. – 19.45 น. ของวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. 2565 ซึ่งขณะนี้วัตถุอวกาศโคจรอยู่ที่ความสูงเฉลี่ยประมาณ 133.25 กิโลเมตร
การแจ้งเตือนชิ้นส่วนจรวดตกสู่โลกในครั้งนี้ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศของ GISTDA ใช้ระบบ ZIRCON ที่ทีมนักวิจัยของ GISTDA พัฒนาขึ้น เพื่อทำการวิเคราะห์ ติดตาม และคาดการณ์ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล
สำหรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ณ วันนี้ มีโอกาสได้รับผลกระทบเพียง 0.8% ซึ่งถือว่าน้อยมาก อย่างไรก็ตาม GISTDA จะติดตามสถานการณ์และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของการตกของชิ้นส่วนจรวดนี้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป
Cr.ข้อมูลและภาพระบบ ZIRCON: ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ
#GISTDA #จิสด้า #ชิ้นส่วนจรวดตก #ลองมาร์ช5บีวาย4 #ZIRCON #ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ #SpaceTechnologyResearchCenter #STREC #ระบบการจัดการจราจรอวกาศ #โมดูลเหมิงเถียน #Mengtian #สถานีอวกาศเทียนกง #Tiangong