Head GISDTDA

2016 International Space Camp

วันแรกของการเข้าค่าย 2016 International Space Camp ณ ประเทศเกาหลีใต้ ตัวแทนเยาวชนไทยทั้ง 6 คน ตื่นแต่เช้าเพื่อออกเดินทางจาก KDRI เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิด ณ KARI ในตัวเมืองแทจอน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงโซลประมาณ 160 กิโลเมตร โดยมี Mr. Insun Kim รองผู้อำนวยการ KARI เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับผู้แทนเยาวชนจากทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเกาหลี จีน ญี่ปุ่น บังคลาเทศ เวียดนาม กัมพูชา และประเทศไทย โดยท่านได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศในอนาคตที่ต้องเริ่มจากความร่วมมือกันในระดับนานาชาติ และเยาวชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีอวกาศในอนาคต จึงเป็นที่มาของกิจกรรมค่ายฯอวกาศนานาชาติในครั้งนี้

1.กิจกรรม สร้างธงทีมกิจกรรมสร้างธงประจำทีม เพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่มทำให้เยาวชนที่มาจากแต่ละประเทศได้ทำความรู้จักผ่านกิจกรรม สร้างคุ้นเคยทำให้กล้าแสดงความคิดเห็น ซึ่งแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยเยาวชนจากแต่ละประเทศ ประเทศละหนึ่งคน น้องๆเยาวชนไทยทั้ง 6 คน ก็ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ทุกคนมีบทบาทในกลุ่มอาทิเช่น น้องซานต้ารับหน้าที่เป็นหัวหน้าทีม น้องใบปาล์มและน้องปิ่นรับหน้าที่เป็นผู้นำเสนอของกลุ่ม และทุกคนในทีมมีหน้าที่ร่วมกันออกแบบชื่อธงประจำทีม และน้องไอซีเป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนอไอเดียธงของทีมต่อหน้าทุกคน

2.กิจกรรม เยี่ยมชมสถานที่ KARI จัดกิจกรรสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนด้านวิศวกรรมอวกาศ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนจากค่าย 2016 International Space Camp ได้มีโอกาสสัมผัสกับประสบการณ์ทำงานจริงของวิศวกรอวกาศ ณ ส่วนงานสร้างดาวเทียมและส่วนงานควบคุมดาวเทียม ในส่วนงานสร้างดาวเทียมนั้น เด็กๆได้เรียนรู้ถึงกระบวนการสร้างดาวเทียม ได้สัมผัสกับห้องปฎิบัติการสร้างดาวเทียมของจริง ได้เรียนรู้กระบวนการทดสอบดาวเทียมก่อนจะส่งขึ้นสู่วงโคจร รวมถึงได้ศึกษาประสิทธิภาพของดาวเทียมแต่ละดวงของประเทศเกาหลีจากโมเดลจำลองด้านหน้าห้องปฎิบัติการ และในส่วนงานการควบคุมดาวเทียม เด็กๆศึกษาประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในแต่ละด้านในห้องปฎิบัติการควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม

3.กิจกรรม สร้างเครื่องร่อนพับกระดาษ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้คิดและทดลองประดิษฐ์จรวดขนาดเล็กภายใต้การควบคุมดูแลจากกลุ่มนักศึกษาวิศวกรรมอวกาศ และส่งขึ้นสู่ความสูงที่ระดับ  5-6 เมตรเหนือพื้นดิน โดยเด็กๆต้องสร้างกลไลให้จรวดสามารถปล่อยร่มชูชีพออกมาก่อนที่ตัวจรวดจะตกสู่พื้นโลก โดยขณะที่ทำการปล่อยจรวดนี้จะมีคณะกรรมการคอยให้คะแนนผลงานของเยาวชนแต่คน เพื่อคัดเลือกจรวดที่ทำงานได้สมบูรณ์แบบที่สุดจำนวน 3 รางวัล ซึ่งเด็กไทยก็สามารถคว้ามา 1 รางวัลด้วย

4.กิจกรรม พับจรวดกิจกรรมเปิดไอเดียให้เยาวชนแต่ละประเทศได้ออกแบบจรวดพับกระดาษที่สามารถร่อนได้ไกลที่สุด ภายใต้คำแนะนำของนักศึกษาเกาหลีด้านวิศวกรรมอวกาศ ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบรูปทรงของอากาศยาน และรูปร่างของจรวดแต่ละรูปทรงที่จะส่งผลต่อระยะทางและความเร็วที่แตกต่างกัน หลังจากที่ประดิษฐ์จรวดพับกระดาษเสร็จแล้ว เยาวชนทุกประเทศได้มายืนบนเส้นเดียวกันก่อนจะปล่อยจรวดออกไปพร้อมๆกัน ผลการแข่งขันปรากฏว่า เยาวชนจากประเทศกัมพูชาสามารถคว้าแชมป์จรวดที่ร่อนได้ไกลที่สุด

5.กิจรรม  แสดงความคิดเห็น (Disscussion)กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนจากแต่ละประเทศได้แสดงทัศนคดิในประเด็นที่ทีมงานได้กำหนดจากนั้นแต่ละทีมต้องสรุปผลการหารือของแต่ละทีมและนำเสนอต่อหน้าสมาชิกทุกคนในค่ายฯ อีกครั้งหนึ่ง โดยปีนี้ทาง KARI ได้กำหนดหัวข้อการแสดงความคิดเห็นจำนวน 2 ประเด็น ดังนี้ 1.วิธีกำจัดขยะอวกาศที่มีประสิทธิภาพ 2.การสร้างที่อยู่อาศัยให้มนุษย์ในอวกาศในอนาคต ไม่แน่ว่าความคิดเห็นจากเยาวชนแต่ละประเทศในสนามนี้ เราอาจจะได้เห็นของจริงในอนาคตอีกไม่ไกล เพราะทุกคนในค่ายฯนี้ล้วนแต่เป็นเยาวชนที่มีใจรักด้านเทคโนโลยีอวกาศและผ่านการคัดสรรมาจากแต่ละประเทศเป็นที่เรียบร้อย

6.กิจกรรม ศึกษาวัฒธรรมเกาหลี (Culture tour)กิจกรรมที่ทำให้เยาวชนจากนานาชาติเข้าใจวัฒนธรรมเกาหลีมากขึ้น และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยอวกาศต่อวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศเกาหลี โดยทาง KARI ได้จัดให้เยี่ยมชมตั้งแต่วิถีชีวิตของคนเกาหลีในอดีตที่หมู่บ้านวัฒนธรรมเกาหลี ไปจนถึงวิถีชีวิตของสังคมยุคใหม่หรือยุคแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่พิพิทธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติและพิพิทธภัณฑ์ชาติเกาหลี นับเป็นกิจรรม Edutainment เล่นและเรียนรู้ที่ให้เด็กๆสนุกไปพร้อมกับการเรียนรู้การนำเทคโนโลยีอวกาศไปใช้ในชีวิตประจำวันของคนเกาหลี

Admin 21/7/2559 0
Share :