Head GISDTDA

หลักฐานจากดาวเทียมยืนยันการกลับมาของเอลนีโญ

.

หลังจากที่ภูมิภาคของเราได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญามาแล้ว 3 ปีติดต่อกันคือมีปริมาณฝนตกหนักมากกว่าปกติ แต่ในปีนี้นับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยหลักฐานจากข้อมูลจากดาวเทียม แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ (ปริมาณฝนน้อยกว่าปกติหรือแล้งนานกว่าปกติ) กำลังจะหวนกลับมาอีกครั้ง

.

ปรากฏการณ์เอลนีโญ เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น

.

การวัดอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลโดยใช้เซนเซอร์ที่ติดตั้งบนดาวเทียม ควบคู่กับเซนเซอร์ที่ติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำในมหาสมุทร เป็นหนึ่งในวิธีการที่ทำให้นักวิทยาศาตร์ตรวจจับการมาของปรากฏการเอลนีโญได้อย่างแม่นยำ โดยดาวเทียมสามารถตรวจวัดความสูงของระดับของผิวน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นได้ อันเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้โมเลกุลของน้ำเกิดการขยายตัวทำให้ปริมาณของน้ำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับกระแสลมที่พัดอย่างต่อเนื่องซึ่งมีผลต่อระดับผิวน้ำทะเลเช่นกัน

.

แผนที่ตามภาพประกอบแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของความสูงของผิวน้ำทะเลเมื่อเทียบกับความสูงเฉลี่ย ครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและตะวันออก จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมที่เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1-10 มิถุนายน 2566 โทนสีฟ้าในแผนที่แสดงถึงระดับน้ำทะเลที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนสภาพระดับน้ำทะเลปกติจะแสดงด้วยโทนสีขาว และ โทนสีแดงหมายถึงบริเวณที่ระดับน้ำทะเลมีค่าสูงกว่าปกติ

.

สำหรับข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ความผิดปกติของความสูงของผิวน้ำทะเลเป็นข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-6 และ Sentinel-3B ซึ่งวิเคราะห์โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ Jet Propulsion Laboratory (JPL) ของ NASA เพื่อย้ำให้ทุกคนตระหนักถึงความผิดปกติของระดับน้ำทะเลที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญ

.

ในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 โดยศูนย์พยากรณ์อากาศของ NOAA ประกาศว่าได้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ รายงานได้ชี้ไปที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในบริเวณ Niño 3.4 ของแปซิฟิกเขตร้อน (จากลองจิจูด 170° องศาตะวันตก ถึง 120° องศาตะวันตก) ในเดือนพฤษภาคม 2566 แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิอยู่ที่ 0.8°C (1.4°F) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย

.

นักพยากรณ์คาดการณ์ว่าสภาวะเอลนีโญจะค่อยๆรุนแรงขึ้นช่วงฤดูหนาวของแถบซีกโลกเหนือในปี 2566-2567 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น พวกเขาคาดการณ์ว่ามีโอกาส 60% ที่จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญแรงระดับปานกลาง และมีโอกาส 56% ที่จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญอย่างรุนแรง

.

อย่างไรก็ตาม จากสถิติ ณ เดือนมิถุนายน 2566 แสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์เอลนีโญยังไม่ส่งผลกระทบรุนแรงเท่ากับปีที่เคยเกิดเอลนีโญมาแล้ว เมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีนักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่า มันยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นในรอบปีนี้จะส่งผลกระทบรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านๆมา

.

#จิสด้าก้าวสู่ปีที่22 #จิสด้า #GISTDA #อวกาศ #เอลนีโญ #ปรากฏการณ์เอลนีโญ #ข้อมูลจากดาวเทียม #กระแสลม #มหาสมุทรแปฟิซิก #ความสูงของระดับผิวน้ำทะเล

Nattakarn Sirirat 27/6/2566 0
Share :