22 กันยายน 2565 GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นำโดยนายพีร์ ชูศรี รองผู้อำนวยการ GISTDA และ ดร.คเณศ วังส์ไพจิตร ผู้ช่วยเลขาธิการด้านเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) พร้อมคณะฯ ให้การต้อนรับคณะเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรจากนานาประเทศ เข้าเยี่ยมชมภารกิจและการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีอวกาศและเทคโนโลยีดิจิทัล ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ หรือ (Space Krenovation Park : SKP) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
.
เป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยได้ต้อนรับเหล่าเอกอัครราชทูตพร้อมคณะ ซึ่งมาจากหลายประเทศทั่วโลก อาทิ รัสเซีย อียิปต์ เม็กซิโก สวิตเซอร์แลนด์ ไนจีเรีย ติมอร์ตะวันออก บาห์เรน คูเวต ซาอุดีอาระเบีย ฟินแลนด์ กัวเตมาลา ไอร์แลนด์ มองโกเลีย บังกลาเทศ ปานามา โคโซโว ฟิลิปปินส์ มัลดีฟส์ กัวเตมาลา และศรีลังกา ที่เข้าเยี่ยมชมภารกิจด้านกิจการอวกาศของไทยซึ่ง GISTDA ได้นำเสนอใน 2 ประเด็นหลักๆ นั่นคือ ความก้าวหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศ โดยศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียมแห่งชาติ หรือ AIT ซึ่งเป็นศูนย์ที่มีบุคลากรเชี่ยวชาญ เครื่องมือและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยผ่านการรับรองมาตรฐานในระดับสากล ปัจจุบันเราเริ่มให้บริการพัฒนาและทดสอบชิ้นส่วนดาวเทียม ซึ่งมีหน่วยงานภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาใช้บริการและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เราเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้านเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน สร้างโอกาสในการได้รับสิทธิประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ภายในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการทางด้านอวกาศ การเพิ่มศักยภาพของบุคลากรไทยผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรม เพื่อต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างดาวเทียมในอนาคต
.
ส่วนประเด็นที่ 2 ได้นำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนาเทคโนโลยีในเขตนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านดิจิทัล หรือ EECd ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่มีความคืบหน้าไปมาก ซึ่งที่ผ่านมา GISTDA ให้การสนับสนุนนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลมาโดยตลอด โดยเรามองที่เป้าหมายใหญ่ของประเทศนั่นคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความรู้ สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ เนื่องจากประชาชนคือกลุ่มคนที่จะเป็นกำลังสำคัญและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศในทุกด้าน ซึ่งจะเอื้อต่อการพัฒนา Innovation Ecosystem หรือระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศ รวมถึงการสร้าง Innovation Platform และSmart Community เพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน ดังนั้น จะเห็นว่าพื้นที่ EEC เป็นฐานสำคัญในการขยายธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูงในด้านอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวกับอวกาศ พร้อมทั้งสร้างให้เป็นจุดศูนย์รวมในการเชื่อมต่อกับอุตสาหกรรมอวกาศในภูมิภาค และยังช่วยผลักดันให้ไทยเข้าสู่ Global Value Chain ด้านอวกาศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.