สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA จัดกิจกรรม “GISTDA Classroom Challenge” เปิดโอกาสให้นักเรียน-นักศึกษาระดมทีม โชว์ความคิดสร้างสรรค์ อวดแพชชั่นเรื่องเทคโนโลยีอวกาศ จุดประกายความหวังเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้างสรรค์ผลงานผ่าน Immersive Exhibition ในหัวข้อ “THEOS-2 ความหวังอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศไทย”
นิยามของ Immersive Exhibition ดังเปรียบเทียบได้กับ Immersive Art โดยอ้างอิงจาก (https://www.creativethailand.org/view/article-read... ) นั้นคือ งานนิทรรศการที่ทำให้ผู้ชมได้รู้สึกเหมือนตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการนั้นๆ ได้มีส่วนร่วม และได้มีปฏิสัมพันธ์กับผลงานที่หลุดออกมาจากกรอบเดิม ๆ แถมยังเคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวา ซึ่งหากเปรียบเทียบให้เกิดความเข้าใจให้ง่ายคือ สำหรับการจัดนิทรรศกาลแบบปรกติที่เพียงแต่แขวนภาพไว้บนผนัง กับการจัดนิทรรศการในรูปแบบใหม่ๆ ทั้งที่ตั้งจากพื้น หรือการแขวนมาจากเพดาน หรือการใช้วิดีทัศน์ร่วมกับการแสดงงานศิลปะนั้นล้วนแต่ช่วยดึงดูดและส่งเสริมงานแสดงศิลปะนั้นๆ จึงทำให้มีผู้เข้าชมงานมากกว่าในแบบดั่งเดิม อีกทั้งการจัด Immersive Art นั้น สร้างเสริมประสบการณ์ในการเยี่ยมชมงานของผู้เข้าชม ดังนั้นจึงไม่แน่แปลกใจเลยที่จะมีผู้เข้าชมงานจำนวนมากที่พร้อมจะตรงดิ่งมาสู่งานนิทรรศการรูปแบบใหม่นี้มากขึ้นเรื่อย ๆ
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมกิจกรรม
• ผู้สมัครจะต้องเข้าร่วมแข่งขันเป็นทีม ทีมละไม่ตำกว่า 25 ท่าน ยกตัวอย่างเช่น 1 ห้องเรียน
และมีอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 2 ท่าน
• ผู้สมัครจะต้องสมัครในนามสถานศึกษาใด สถานศึกษาหนึ่งเท่านั้น
• สำหรับผู้ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับชั้นมัธยมศึกษาจะต้องมีอายุ 15-18 ปี
• สำหรับผู้ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับอุดมศึกษาจะต้องมีอายุ 18 -21 ปี
• ผู้เข้าร่วมสมัครจะต้องมีความสนใจหรือกำลังศึกษาในเรื่องเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
ขั้นตอนการรับสมัคร
• เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ – 2 กันยายน 2565 ผ่านทางอีเมล spaces.classroomchallenge@gmail.com โดยหลังจากที่ผู้จัดได้รับใบสมัครแล้ว ทางผู้จัดจะจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับโครงการ THOES-2 เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมจัดทำโครงงานเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกต่อไป
• ประกาศทีมที่ผ่านการคัดเลือก ทางแฟนเพจ GISTDA
โดยแบ่งเป็น 2 ทีม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
และ 2 ทีม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่อยู่ในระดับชั้นอุดมศึกษา
• การคัดเลือกจากคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
ขั้นตอนการคัดเลือก
• ทีมผู้ร่วมกิจกรรมจะต้องส่งเอกสารโครงงานเกี่ยวกับการจัดทำนิทรรศการด้านเทคโนโลยีอวกาศและ THEOS-2 โดยร้อยละ 50 ของคอนเทนต์ที่ผลิตต้องเกี่ยวข้องกับ THEOS-2 และวิธีจัดทำ immersive exhibition นั้นจะต้องมีความสร้างสรรค์ สามารถจัดทำได้จริง และบอกเล่าเรื่องราวได้น่าสนใจ
• เอกสารโครงงานจะต้องส่งมาพร้อมชื่อและนามสกุลของสมาชิกในทีมทั้งหมด พร้อมชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา และแนบสำเนาบัตรนักเรียน/นักศึกษาของสมาชิกทุกท่าน
ภาพถ่ายกลุ่มกิจกรรม หรือภาพที่ capture screen จากการประชุมออนไลน์
โครงงานที่ได้รับเลือกให้จัดทำนิทรรศการนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
• ส่วนหนึ่งของนิทรรศการจะต้องนำมาจัดแสดงในวันแถลงข่าวการปล่อยดาวเทียม THEOS-2 ณ Faamai Dome กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 (อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง)
• สมาชิกจำนวน 3 ท่านพร้อมอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 2 ท่าน ที่ร่วมจัดทำนิทรรศการ จะต้องเข้าร่วมแสดงงานในงานวันแถลงข่าว ณ สถานที่จัดงาน เพื่อนำเสนอโครงงานต่อผู้ที่เข้าร่วมงานแถลงข่าว (จะแจ้งวันเวลาให้ทราบต่อไป)
• ผู้จัดจะจัดเตรียมพื้นที่ขนาด 2x2 ม. และสมาร์ททีวีขนาด 45 นิ้ว ไว้ให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 4 ทีม สำหรับประกอบการนำเสนอ
ระหว่างการจัดทำผลงาน
• ผู้จัดจะเข้าไปบันทึกภาพเบื้องหลัง อีกทั้งยังมีการสัมภาษณ์เพื่อการจัดนำข้อมูลเบื้องหลังการจัดนิทรรศการของแต่ละทีม
สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 4 ทีม
• ผู้ที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการทีมละ 15,000 บาท
• สำหรับการเข้าร่วมงานแถลงข่าว ทางผู้จัดได้จัดเตรียมค่าเดินทางและที่พัก กรณีต้องเดินทางเข้ามาร่วมงานแถลงข่าวเพื่อจัดแสดงผลงาน และรับใบประกาศนียบัตร โดยทั้ง 4 ทีมจะได้รับได้รับเกียรติบัตรในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ รางวัลละ 1 ทีม (โดยไม่แบ่งแยกระดับการศึกษา) ได้แก่
โดดเด่นด้านการเล่าเรื่อง (Best Story-telling)
** หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ทีมที่นำเสนอผลงานและแนวคิดออกมาได้น่าสนใจ โดยใช้การเล่าเรื่องสร้างความเป็นเอกภาพในงาน ให้เกี่ยวเนื่องสอดคล้องกันตลอดทั้งผลงาน
โดดเด่นด้านการสร้างแรงบันดาลใจในการใช้เทคโนโลยี (Best Inspiration)
** หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ผลงานและแนวคิดของทีมนั้นๆ ส่งต่อแรงบันดาลใจในการใช้เทคโนโลยีอวกาศให้กับผู้ชม
โดดเด่นด้านผูกโยงกับชุมชน (Best Localization)
** หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ผลงานและแนวคิดของทีมนั้นๆ แสดงความเกี่ยวเนื่องระหว่างเทคโนโลยีอวกาศและชุมชนอย่างชัดเจน ยั่งยืน และเป็นรูปธรรม
โดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ (Best Creativity)
** หลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ ทีมที่นำเสนอผลงานและแนวคิดออกมาอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ สดใหม่ มอบมุมมองใหม่ ๆ ให้กับผู้ชม
สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 2 กันยายน 2565 ทางอีเมล spaces.classroomchallenge@gmail.com
ระบุชื่ออีเมลว่า “สมัคร Classroom Challenge”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง inbox ของ GISTDA หรือ อีเมล spaces.classroomchallenge@gmail.com
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.