Head GISDTDA

8 ปี นามพระราชทาน "ไทยโชต"

จากพื้นดินสูงขึ้นไปกว่า 800 กิโลเมตร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของคนไทยโคจรอยู่

มีชื่อว่า “ไทยโชต”  ได้รับพระราชทานนามจาก

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

มีความหมายว่า “ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง” 

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้และสะท้อนว่าทรงทอดพระเนตรเห็นภารกิจอันสำคัญยิ่งของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดวงนี้

   ทุก ๆ 101.4 นาที ไทยโชตจะโคจรรอบโลก ครบ 1 รอบเร็วเท่ากับ 6.6 กิโลเมตรต่อวินาทีเมื่อเทียบกับพื้นโลกคอยบันทึกข้อมูลทุกพื้นผิวทั่วโลกที่โคจรผ่านทั้งแบบสีและขาวดำต้องใช้แหล่งพลังงานดวงอาทิตย์ และไม่สามารถถ่ายภาพได้ในเวลากลางคืน

   ไทยโชต คอย “ถ่ายภาพ” เมืองไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกจากอวกาศ ส่งกลับมาที่สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดย GISTDA จะเป็นผู้ทำการวิเคราะห์และแปลภาพ ซึ่งทำให้เราได้ข้อมูลว่าพื้นผิวโลกแต่ละจุดมีองค์ประกอบและการใช้งานแตกต่างกันอย่างไรเช่น พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร ถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน แหล่งน้ำ เป็นต้นโดยข้อมูลทั้งหมดจะใช้สนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ให้กับรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ได้นำข้อมูลไปใช้เพื่อแก้ปัญหา และวางแผนพัฒนาประเทศในทุกด้าน ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ การทำเกษตรโซนนิ่ง การบริหารจัดการภัยพิบัติให้เป็นระบบ ระบบคมนาคม การจัดสรรพื้นที่เศรษฐกิจ การบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง การวางผังเมือง และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน

   ข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีอวกาศนี้ เราเรียกว่า ภูมิสารสนเทศ แปลว่า ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินทั้งรูปสัณฐาน ทรัพยากรบนดิน ในดิน ในทะเล และในชั้นบรรยากาศโดยข้อมูลดังกล่าว จะถูกนำมาสร้างเป็นแผนที่ในแบบต่าง ๆและเรายังเก็บข้อมูลมากมายไว้เป็นสถิติเพื่อไว้ใช้ศึกษาต่อไปได้

 

 

Admin 10/12/2562 711 0
Share :