Head GISDTDA

SpaceX Crew-1 mission กับภารกิจ 31 ต.ค.นี้

วันนี้แอดมินจะพาลูกเพจไปติดตามภารกิจของ SpaceX กันอีกครั้งครับ ทราบมาว่าจะมีกำหนดการส่งไปในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ ส่วนจะเป็นอะไรนั้นเรามาติดตามกันครับ...

 

ซึ่งหลังจากที่ บริษัทเอกชน SpaceX ประสบความสำเร็จและได้พิสูจน์ให้ NASA เห็นแล้วว่า การส่งคนไปสถานีอวกาศนั้น ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจรเช่นกัน จึงทำให้ NASA ให้การยอมรับและมอบหมายภารกิจแรกคือ การส่งนักบินอวกาศนาซ่าพร้อมนักวิจัยไปปฏิบัติงานบนสถานีอวกาศใน Crew-1 mission ปลายเดือนนี้นั่นเอง 

 

การทดลองส่งคนไปสถานีอวกาศพร้อมเดินทางกลับโลก ในมิสชั่น Demo-2 เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น บริษัท SpaceX ใช้งบประมาณไปราวๆ 9 พันล้านบาท จากการส่งนักบินอวกาศไปเพียง 2 คน นั่นก็คือ นายดักลาส เฮอร์ลีย์ และนายโรเบิร์ต เบห์นเคน แน่นอนว่าครั้งนี้จะมีการส่งนักบินอวกาศไปถึง 4 คน ค่าใช้จ่ายก็จะต้องสูงกว่านั้นอย่างแน่นอนครับ ซึ่งทางบริษัท SpaceX ยังไม่ได้เปิดเผยตัวเลขในเรื่องนี้ครับ

 

หากเรากลับมาคิดทบทวนดูว่า ระยะเวลาเพียงแค่ 4 - 5 เดือนเท่านั้น ทำไม NASA ยอมจ่ายงบประมาณมหาศาลเพื่อปฏิบัติภารกิจในอวกาศ ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว แล้วประกอบกับช่วงสถานการณ์โควิด19 แบบนี้ ซึ่งคนในสหรัฐอเมริกาติดเชื้อเป็นจำนวนมากและสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่รัฐบาลกลับทุ่มงบในภารกิจด้านนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อปฏิบัติภารกิจตามที่ได้วางแผนไว้

 

คำตอบนึงที่สามารถตอบได้แบบเร็วๆก็คือ ในภารกิจที่จะส่งขึ้นไปในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ NASA ต้องการทดลองงานวิจัยในอวกาศเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และอะไรอีกหลายๆ อย่างสำหรับชาวอเมริกัน โดยครั้งนี้ มีงานวิจัยส่งไปทดลองบนสถานีอวกาศกว่า 130 รายการ ที่สำคัญมีการวิจัยเพื่อผลิตยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย รวมอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งเป็นการมองระยายาวว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีความจำเป็นและสำคัญทั้งสิ้น ประมาณว่า เหตุการณ์ปัจจุบันมีความสำคัญมาก อนาคตก็จะต้องให้ความสำคัญและเดินหน้าต่อไปนั่นเองครับ  การลงทุนทุกครั้ง ทาง NASA เองก็ย่อมจะมีความหวังกลับมาว่าจะได้ประโยชน์จากภารกิจนี้ไม่มากก็น้อย   

 

แอดมินอยากเล่าให้ฟังต่อว่า... หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า สหรัฐอเมริกาเองได้มีการพัฒนาห้องแลปบนสถานีอวกาศเรียบร้อยแล้ว และไม่อนุญาตให้งานวิจัยของชาติอื่นใช้บริการ แม้จะจ่ายเงินหรือยินดีจ่ายด้วยวงเงินมากมายมหาศาลเท่าใดก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นอกจากงานวิจัย เรายังทำประโยชน์ได้อีกหลายๆ อย่างในอวกาศ เช่น ส่งดาวเทียมสัญญาณโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต wifi ควบคุมรถไถนาหรือดูแลไร่สวนจากอวกาศ หรือ จะใช้ติดตามกรณีคนหาย (ใช้ดาวเทียมเป็นตาวิเศษที่คอยมองประเทศเราตลอดเวลาจากอวกาศ ซึ่งอาจจะช่วยแก้ปัญหาคดีอาชญากรรมได้อีกด้วย)     ผมสรุปได้ว่า อวกาศ คือ New Space Economy จริงๆ ครับ เรื่องราวจากอวกาศจะมีมาเล่าสู่กันฟังเรื่อยๆครับ ขอบคุณสำหรับการติดตาม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

ดร.อัมรินทร์  พิมพ์หนู  วิศวกรชำนาญการด้านบริหารการทดลองและการสำรวจอวกาศ จาก GISTDA
#GISTDA #จิสด้า #จิสด้าก้าวสู่ปีที่20 #space #SpaceX #NASA

Admin 7/10/2020 732 0
Share :