วันนี้แอดมินได้มีโอกาสพูดคุยกับน้องลิขิต วรานนท์ Project Manager ของ THEOS-2 SmallSAT เกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของเขา ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องดูแลและควบคุมทีมวิศวกรและระบบของงานทั้งหมด
“จริงๆ แล้วผู้จัดการโครงการ หรือ Project Manager นั้นมีความจำเป็นที่ต้องมีในทุกๆ โครงการ ไม่จำเป็นแค่โครงการพัฒนาดาวเทียมเพียงอย่างเดียวครับ ซึ่งหลักพื้นฐานในการบริหารจัดการจะคล้ายๆกันครับ เช่น การยึดหลักสามเหลี่ยมแห่งการบริหารโครงการ Cost, Schedule, Scope ซึ่งภายใต้สามเหลี่ยมนั้นคือการรักษาสมดุลในทุกมิติ ตามเงื่อนไข และข้อจำกัดตามแต่ลักษณะของโครงการ ซึ่งรวมถึงการบริหารความเสี่ยง การใช้ Business management tools และที่สำคัญคือการรักษาสมดุลความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ (Stakeholder) เป็นต้น แต่จากการที่ได้มาอบรมร่วมกับผู้จัดการโครงการของบริษัท Surrey Satellite Technology Ltd. (SSTL) แล้ว ทำให้ได้เห็นความเป็นมืออาชีพ และความแตกต่างจากการบริหารจัดการโครงการอื่นๆ ที่เคยเห็นในประเทศไทยที่ไม่ใช่งานด้านอวกาศ ซึ่งนอกจากเรื่องรายละเอียดกระบวนการพัฒนาดาวเทียม การกระบวนการผลิต ที่ไม่เคยมีในประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะการดำเนินการตามมาตรฐาน NASA หรือยุโรปอย่าง ECSS ก็คือการใช้เหตุและผล ร่วมกับความรู้ทางด้านวิศวกรรม และประสบการณ์ด้านดาวเทียม ผสมกับการใช้จินตนาการ ในการตัดสินใจที่จะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากการรักษาสมดุลในสามเหลี่ยมแล้ว การมองภาพออกว่าหากตัดสินใจแล้วจะเกิดผลดี หรือผลเสียเมื่อดาวเทียมอยู่บนอวกาศนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยครับ เพราะไม่มีใครเคยเห็นจริงๆว่าเวลาดาวเทียมเสียชำรุดแล้วจะเป็นยังไงเมื่อมันอยู่บนอวกาศ เรามักจะอาศัยข้อมูลทางคณิตศาสตร์มาวิเคราะห์เพื่อบ่งชี้เหตุของอาการเสีย จึงไม่สามารถหาคำตอบได้ 100% แน่นอน”
>>>แล้วเราจะแก้ไขปัญหานี้ยังไงครับ?
“การแก้ปัญหาดังกล่าวโดยทั่วไปแล้วผู้จัดการโครงการก็จะใช้วิธีบริหารความเสี่ยงตามหลักการบริหารทั่วไป ผสมกับความรู้ทางวิศวกรรม เช่น ทำการทดสอบอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงหลายครั้ง ซื้ออุปกรณ์ที่เคยผ่านการพิสูจน์มาแล้ว หรือแม้กระทั้งการเพิ่มกระบวนการตรวจสอบ (Peer Review) ให้ละเอียดมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าทางใดทางนึงก็จะมีทั้งผลดีและผลเสีย แต่อีกวิธีนึงที่สังเกตว่า SSTL มี และเป็นหัวใจสำคัญนั้นก็คือ Team Work ครับ ทุกคนในทีม SSTL จะถูกปลูกฝังทางวัฒนธรรมของทีม คือการมีความตระหนักรู้ในหน้าที่ (Consciousness) และความมุ่งมั่นที่จะให้โครงการสำเร็จ (Commit to success) เหมือนๆกัน โดยวัฒนธรรมที่ทำให้ทีมเป็นอย่างนี้ได้ในเชิงปฏิบัติแล้ว ซึ่งผมเรียนรู้ว่าเกิดจากการที่ทีมจะไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เพื่อนร่วมทีมไม่ชอบ เช่น ไม่มีการตำหนิกัน ไม่มีการอิจฉาริษยากัน มีความเห็นแก่ตัวน้อยมาก รู้ว่าต้องทำอะไร ส่งงานเมื่อไหร่ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เป็นต้น”
จากเป้าหมายที่ชัดเจนของทีม THEOS-2 SmallSAT ของเราที่ชัดเจนว่า เราอยากนำความรู้กลับไปพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทยให้ได้ ที่ไม่ใช่แค่ความรู้ทางเทคนิคเพียงอย่างเดียว เราจึงได้เรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ภายในทีมของเราด้วย ถึงแม้จะมีข้อจำกัดที่ท้าทายเราอยู่ค่อนข้างมาก เพราะเรามาจากความหลากหลายทางอายุ ตั้งแต่ 23 – 40 ปีขึ้น จากหน่วยงานที่ต่างกัน ไม่เคยอยู่ร่วมกันมาก่อน เจอกันครั้งเดียวก่อนเดินทางมาประเทศอังกฤษ แต่พวกเรานั้นเป็นคนไทย ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือเราจะต้องสร้างและพัฒนาดาวเทียมให้สำเร็จ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศ ตั้งแต่วันแรกที่เราทุกคนพบกันจนถึงวันนี้ ระยะเวลาที่ผ่านมาหนึ่งปีกว่าก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเราทำกันได้ดี ซึ่งไม่ใช่แค่การรักษาสมดุลของ Team Work แต่รวมถึงการเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ทางเทคนิคได้ดีด้วยเช่นกันครับ
>>>เห็นไหมครับว่า ผู้จัดการโครงการนั้น นอกจากการรักษาสมดุล key success และบริหารความเสี่ยงภายใต้เงื่อนไขต่างๆ แล้ว การสร้าง team work ก็เป็นการรักษาสมดุล key success ที่สำคัญเช่นกัน<<<
ขอบคุณ: นายลิขิต วรานนท์ Project Manager โครงการ THEOS-2 SmallSAT
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.