9 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาแนวคิด วิธีการในการวิเคราะห์และออกแบบข้อมูลภายใต้นวัตกรรมภูมิสารสนเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Actionable Intelligence Policy for Eastern Economic Corridor) หรือ AIP EEC เพื่อสนับสนุนการสร้างนโยบายสำหรับการบริหารจัดการน้ำอย่างรอบด้าน ซึ่งถือเป็นการพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศอัจฉริยะจากโครงการ THEOS-2 ณ GISTDA ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจาก 7 หน่วยงานที่มีส่วนสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC เข้าร่วมได้แก่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.), สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.), สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI), มูลนิธิเสนาะ อูนากูล, สำนักงานชลประทานที่ 9, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งทีมงาน GISTDA นำโดย ดร.พรเทพ นวกิจกนก ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ THEOS-2 พร้อมด้วย ดร.ดิชพงษ์ ภูมิเกียรติศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบนวัตกรรมนโยบายเชิงพื้นที่ และ ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท Airbus Defense and Space ได้นำเสนอการออกแบบ AIP EEC Water Stress ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้นวัตกรรมภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC โดยที่ AIP สามารถคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตเมื่อมีการพัฒนาพื้นที่ใน EEC อาทิ คาดการณ์การขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดบ้าง หรือสามารถทดสอบนโยบายที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ AIP EEC จะสามารถนำมากำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ได้หลากหลาย เหมาะสำหรับการนำไปใช้วางแผน ออกแบบนโยบายสำหรับการบริหารจัดการ และสามารถนำมาเปรียบเทียบผลลัพธ์จากแผนงานต่างๆ เพื่อเลือกแผนที่เหมาะสมที่สุดได้ ซึ่งไม่เพียงแต่คำนึงถึงปัจจัยด้านน้ำเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงมิติด้านผลผลิตทางการเกษตร ด้านระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อม และด้านความเสี่ยงภัยพิบัติน้ำท่วม อีกด้วย
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับฟังข้อคิดเห็นและแนวคิดต่างๆ รวมถึงข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มากมายหลังจากนี้จะนำไปปรับปรุงและพัฒนา AIP ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถนำไปสู่การใช้งานได้จริงร่วมกันต่อไป ซึ่งพื้นที่ EEC จะเป็นพื้นที่นำร่องที่จะนำ AIP มาร่วมวิเคราะห์และบริหารจัดการน้ำรอบด้านอย่างยั่งยืนและมีแผนที่จะขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆต่อไปในอนาคตให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทยต่อไป
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.