องค์การสหประชาชาติได้ผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีเป้าหมาย 17 ข้อซึ่งได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยใช้วิทยาการและเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม และ “AIP” คือเครื่องมือหนึ่งที่ GISTDA พัฒนาให้ประเทศไทยสามารถตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาในมิติ เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ได้อย่างยั่งยืน
ทุกวันนี้โลกของเราเต็มไปด้วยปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่ความยากจน ไปถึงปัญหาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบใหญ่ต่อคุณภาพชีวิตของเราและคนรุ่นหลัง องค์การสหประชาชาติจึงได้ผลักดัน SDGs หรือ Sustainable Development Goals ซึ่งหมายถึง “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมาย” ที่มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศร่วมลงนามรับรอง โดยเป้าหมายทั้ง 17 ข้อกลั่นกรองมาจากความเห็นของผู้คนทั่วโลกถึงโลกที่ทุกคนอยากเห็นในปี 2030
แน่นอนว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ร่วมลงนามและพยายามพัฒนาเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องครับ
สำหรับ GISTDA ในฐานะผู้ให้บริการและพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดยเฉพาะ “ข้อมูลจากดาวเทียม” แน่นอนว่าต้องผลักดันให้เครื่องมือนี้ตอบสนองเป้าหมาย SDGs ให้ได้มากที่สุด โดยข้อมูลจากดาวเทียมนอกจากจะมีความแม่นยำสูงแล้วยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ด้านการจัดการน้ำ ด้านการจัดการเกษตรกรรม ด้านการจัดการภัยพิบัติ ด้านความมั่นคง ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการจัดการเมือง
แม้จะประยุกต์ใช้ได้ครอบคลุมและหลากหลาย แต่ GISTDA ก็ไม่ได้หยุดพัฒนาความสามารถของเทคโนโลยีอวกาศ จึงได้เกิดโครงการ THEOS-2 ขึ้น ซึ่งโครงการนี้จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพข้อมูลดาวเทียมไปอีกขั้น รวมถึงบูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดนโยบายอัจฉริยะที่นำมาปฏิบัติได้จริงหรือ AIP ครับ
AIP เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประเทศไทยตอบรับและสนับสนุนนโยบายความยั่งยืนของ SDGs ได้ เช่น เป้าหมายเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ SDGs เป้าหมายที่ 8 Decent Work and Economic Growth โดย AIP สามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาร่วมวิเคราะห์และจำลองภาพอนาคตของการใช้ทรัพยากรที่สำคัญ เช่น น้ำ ว่ามีความเพียงพอสำหรับพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลือกใช้ในการเตรียมการขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรฐกิจของประเทศต่อไปครับ
หรืออย่างการตอบโจทย์ของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ก็สามารถนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาศึกษาร่วมกันว่าเขตพื้นที่ไหนต้องการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้านใด และจำลองว่าวิธีการไหนจะเหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่นั้น ๆ มากที่สุด
AIP จะช่วยตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยหน่วยงานตัดสินใจว่า การแก้ปัญหาแบบไหนเป็นสิ่งที่ดีและยั่งยืนที่สุด และนำมาช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาได้หลากหลาย
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.