Head GISDTDA

GISTDA จัดประชุมคณะทำงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการเกษตรที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (AIP for Climate-Resilient Agriculture) ครั้งที่ 2/2565

   การประชุมคณะทำงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการเกษตรที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (AIP for Climate-Resilient Agriculture) ครั้งที่ 2/2565 ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น. ณ โรงแรมยู เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

   GISTDA ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร 7 หน่วยงาน ในฐานะคณะทำงานฯ ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมการข้าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร 
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรามคำแหง และกรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมประชุมคณะทำงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการเกษตรที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
(AIP for Climate-Resilient Agriculture) ครั้งที่ 2/2565 ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น. ณ โรงแรมยู เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 22 คน จากทั้งหน่วยงานพันธมิตร และเจ้าหน้าที่ GISTDA 

   สำหรับการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งนี้ มีการรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานภายใต้คณะทำงานฯ อาทิเช่น การออกแบบแผนการดำเนินงานภายใต้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการเกษตรที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ที่นำเสนอกรอบแนวคิด แนวทางการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ นโยบายที่เกี่ยวข้อง การจำลองสถานการณ์ ข้อมูลที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ หน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย งบประมาณสำหรับสนับสนุน รวมถึงแผนการดำเนินงานในอนาคต ตลอดจนการเปิดเวทีให้คณะทำงานฯ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกัน ถึงสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อการเกษตร เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการเกษตร ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในเชิงนโยบาย

   การประชุมคณะทำงานฯในครั้งนี้ เกิดความเห็นชอบร่วมกันในการกำหนดกรอบเป้าหมาย “ลดความเสียหายการปลูกข้าวที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มศักยภาพในการปรับตัวของเกษตรกร” ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแผนงาน หรือโครงการต่าง ๆ ด้านการเกษตรของประเทศไทยโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Actionable Intelligence Policy Platform (AIP) เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศด้านการเกษตร ต่อไป

amorn.pet 2/9/2022 0
Share :