Head GISDTDA

GISTDA นำทีมเข้ารับฟังการให้คำแนะนำ (Coaching) การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office)

เมื่อวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดการให้คำแนะนำ (Coaching) การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) ให้แก่ สทอภ. เพื่อทราบแนวทางการดำเนินงานรวมถึงการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบ ผ่านทางระบบออนไลน์  Zoom Meeting โดยผู้เข้าร่วมรับฟังประกอบด้วยผู้แทนคณะทำงานฯ จากทั้ง 6 หมวด

ผู้บรรยายได้ให้ข้อแนะนำในการดำเนินงานของแต่ละหมวด การบันทึก และจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ลงในแบบฟอร์ม โดยได้มีการจัดส่งไฟล์ตัวอย่างแบบฟอร์มให้หน่วยงานสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมได้

หมวดที่ 1 นโยบายวางแผนการดำเนินงานและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญในเรื่องของ

-การกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน

-การจัดทำแผนผังของสำนักงาน โดยจะต้องกำหนดร้อยละและสัดส่วนของพื้นที่อย่างชัดเจน

-การจัดทำเอกสารประกาศต่าง ๆ ผู้บริหารจะต้องลงนามเป็นลายลักษณ์อักษร และจะต้องมีการระบุวันที่ประกาศชัดเจนสิ่งสำคัญจะต้องมีแผนการทบทวนประกาศ

-การจัดตั้งคณะทำงาน โดยในส่วนนี้ สทอภ. ได้มีการจัดตั้งแล้ว สามารถใช้ได้

-การจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี 2565 จะต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจน และต้องมีการลงลายมืออนุมัติแผนดังกล่าวด้วย

-การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ปริมาณก๊าซเรือนกระจก กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

หมวดที่ 2  ให้ความสำคัญเรื่องการสื่อสาร การสร้างจิตสำนึก และการฝึกอบรม

-การจัดทำแผนจะต้องให้ครบถ้วนครอบคลุมตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งหมด 9 หัวข้อ มีวิธีการสื่อสาร ความถี่ในการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมาย ภายใน และ ภายนอก กำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจน   

-การจัดเก็บหลักฐานการสื่อสารทุกสรุปผลการสื่อสารภาพประกอบให้ครบถ้วน

-การจัดฝึกอบรมอย่างน้อยจะต้องมีหัวข้อในการอบรม 5 หัวข้อประกอบด้วย

          1) ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว (ร่วมกับหมวด 1)

          2) การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (ร่วมกับหมวด 3)

          3) การจัดการมลพิษและของเสีย (ร่วมกับหมวด 4)

          4) การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ร่วมกับหมวด 6)

          5) ก๊าซเรือนกระจก (ร่วมกับหมวด  3)

การจัดฝึกอบรมจะต้อง มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวนผู้เข้ารับการอบรมเพื่อกำหนดเป็นเกณฑ์ตัวชี้วัด มีการจัดเก็บประวัติผู้เข้าอบรม การทดสอบความรู้ทั้งก่อนและหลังการเข้ารับการอบรม การจัดเก็บประวัติวิทยากร

 

 

ทั้งนี้ ได้มีการประสานกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นแล้ว สามารถให้ความอนุเคราะห์และอบรมให้ได้ครบทั้ง 5 หัวข้อ

-การรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม  จะต้องกมีการจัดทำแผนผังการรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ ในรูปแบบของ Flowchart  มีการรวบรวมข้อร้องเรียน มีการสรุปเสนอผู้บริหาร เพื่อรับทราบกำหนดแนวทางการแก้ไข และจะต้องมีการประชุมติดตามประจำเดือนด้วย

 

หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

-การประกาศนโยบายการใช้ทรัพยากร พลังงาน ของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก

-การประกาศในเรื่องของการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน ปริมาณของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ประจำปี

-มีแผนการจัดเก็บข้อมูลเป็นตัวเลขสถิติ การคำนวณเปรียบเทียบแสดงให้เห็นถึงผลการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้ครบในทุกหัวข้อ

 

หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

- ควรมีการจัดทำแผนภาพแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน Flowchart ในเรื่องของการกำจัดของเสียให้ครบ

-การเก็บข้อมูลปริมาณขยะ

-การเก็บบันทึกการกำจัดเศษอาหาร การดักจับไขมัน

-จัดทำเป็นข้อมูลกราฟแสดงเปรียบเทียบแสดงเป็นรายเดือน

 

หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

-มีการจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปีให้ครบทุกเรื่อง อาทิ การบำรุงรักษาเครื่องมืออุปรกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน ยานพาหนะ อาคารสถานที่ เป็นต้น

-การซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี การเก็บข้อมูลตรวจสอบถังดับเพลิง จุดที่ตั้ง สภาพถังดับเพลิง

-การกำหนดแผนการตรวจสอบในเรื่องสัตว์พาหนะนำโรค

 

หมวดที่ 6 การจัดซื้อและจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          -จัดทำรายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม / ตรวจสอบ / ทบทวนบัญชีสินค้าที่จัดซื้อคำนวณร้อยละของการจัดซื้อ ติดตามผลการดำเนินการเป็นประจำทุกเดือน

          -การจัดทำหนังสือขอความร่วมมือ หรือจัดทำข้อตกลงร่วมกับบริษัท ร้านค้า ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างในการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          -มีการสรุปวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างนำเสนอต่อผู้บริหาร และกำหนดแนวทางเพิ่มเติมในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น

เกณฑ์การประเมิน

หมวด

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน

1

การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

25

2

การสื่อสารและการสร้างจิตสำนึก

15

3

การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

15

4

การจัดการของเสีย

15

5

สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

15

6

การจัดซื้อและจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

15

 

รวม

100

 

กรอบระยะเวลาการดำเนินงาน

พ.ค. - มิ.ย 65

หน่วยงานจะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของแต่ละหมวดประกอบด้วยหมวดที่ 1-6 มีการจัดทำแผนการจัดทำเก็บข้อมูลให้ครบถ้วน และนำเข้าข้อมูลทั้งหมดสู่ระบบ Green Office System ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 65  นอกจากนำเข้าสู่ระบบแล้ว จะต้องจัดส่งไฟล์ในรูปแบบแชร์ไดร์ให้กับฝ่ายเลขาฯ ของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย

 

ในส่วนของการกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบ ในเบื้องต้น พี่ปอ เสนอว่า

จะให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละหมวดรับผิดชอบและนำเข้าระบบได้เอง

ก.ค. - ส.ค. 65

คณะกรรมการมีการนัดหมายหน่วยงานเพื่อเข้าตรวจประเมิน รูปแบบของการตรวจประเมิน เป็นแบบผสมผสาน ทั้ง Online และ Onsite โดยมีผู้ตรวจประเมินไม่น้อยกว่า 4 คน ต่อการตรวจหน่วยงาน 1 แห่ง และผู้ตรวจอย่างน้อย 1 คน ต้องอยู่ในพื้นที่

 

ขั้นตอนในการตรวจประเมิน

  • ผู้บริหารหรือผู้แทนของหน่วยงานกล่าวต้อนรับ แนะนำตนเองและคณะทำงานทั้ง 6 หมวด
  • ผู้ตรวจประเมินแนะนำตนเองและหมวดที่รับผิดชอบ
  • หน่วยงานนำเสนอผลการดำเนินงานในภาพรวมไม่เกิน 15 นาที ให้ครอบคลุมทั้ง 6 หมวด
  • ผู้ตรวจประเมินจากระบบส่วนกลางสัมภาษณ์คณะทำงานหรือผู้รับผิดชอบสำนักงานสีเขียวตามหมวด 1- 6
  • ผู้ตรวจประเมินในพื้นที่สำนักงาน ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้ในการสัมภาษณ์และ
  • ตรวจสอบพื้นที่ปฏิบัติงานจริง เช่น นโยบายสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • เดินสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว
  • ผู้แทนหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบหมวด พร้อมผู้ตรวจประเมินในพื้นที่สำนักงาน จะต้องเปิดกล้องในขณะการ
  • สัมภาษณ์บุคลากร และเดินสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ตรวจประเมินจากระบบส่วนกลางเห็นสภาพพื้นที่
  • สำนักงานจริง ผู้ตรวจประเมิน
  • ทีมผู้ตรวจประเมินหารือร่วมกันเพื่อสรุปผลการตรวจประเมิน พร้อมให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากตรวจ
  • ประเมินสำนักงานสีเขียวแก่หน่วยงาน
  • ปิดการประชุม

ก.ย. 65

สรุปผลการตรวจประเมินและประกาศผลมอบโล่รางวัลให้แก่หน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์

luckyka.tia 25/4/2022 0
Share :