Head GISDTDA

GISTDA จับมือร่วมกับ UN และ มช วิจัยการใช้เทคโนโลยีอวกาศลดปัญหาไฟป่าและ PM 2.5

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA จับมือร่วมกับ United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP) และ ศูนย์ภูมิภาคฯ ภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เสวนาวิชาการเพื่อการระดมสมองร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นปัญหาจากการเผาในที่โล่งและเหตุการณ์ไฟป่า ผลกระทบจาก PM 2.5 และแนวทางแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในรูปแบบออนไลน์

.

โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญการบริหารจัดการในพื้นที่ด้านการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเข้ามาบูรณาการจัดการปัญหาการเผาในที่โล่ง ประกอบด้วย ดร. ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการ GISTDA ดร. ณัฐวัฒน์ หงส์กาญจนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีกิจการอวกาศ (หัวหน้าโครงการ) รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (CCDC) ดร.ภูดินันท์ สิงห์คำฟู มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีลานนา เชียงใหม่ ดร. พลภัทร เหมวรรณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ. ดร.อริศรา เจริญปัญญาเนตร ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคฯ ภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเสวนาวิชาการในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมอภิปราย 63 คน จากนักวิชาการ ผู้แทนชุมชน นักวิจัย นักศึกษา ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งหากโครงการวิจัยนี้สำเร็จจะส่งผลให้ค่า PM2.5 และ PM10 ที่เป็นอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ หัวใจ เยื่อบุนัยน์ตา-จมูก ลดลงอย่างมาก อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนและจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อทรัพยากรกรธรรมชาติอย่างแท้จริงด้วยการลดปัญหาการเผาในที่โล่งที่เกิดขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีต่อไป

.

การร่วมมือครั้งนี้ได้รับทุนวิจัยจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) โดยการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน และ IOT sensor เข้ามาบูรณาการในการบริหารจัดการการปัญหาการเผาในที่โล่ง ซึ่งมีแนวทางการวิจัยประกอบด้วย

1.เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อตรวจจับจุดความร้อนหรือ hotspot ผ่านดาวเทียม

2.เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เพื่อตรวจตรวจการณ์และตรวจสอบพิกัดจุดความร้อนอีกครั้งหลังจากรับจุดความร้อนผ่านดาวเทียมทำให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

3.IOT sensor เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามคุณภาพอากาศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดกิจกรรมการเผาในที่โล่ง และสามารถแจ้งเตือนให้หน่วยปฏิบัติการเข้าระงับ ติดตามสถานะของแต่ละเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลังจากนั้น GISTDA ได้ลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนาเพื่อวางแผนสำรวจพื้นที่และหารือร่วมกันสำหรับการติดตั้งโดรนตรวจการณ์และตรวจสอบพิกัดจุดความร้อนอีกทั้งการวางแผนติดตั้ง IOT sensor ในบริเวณพื้นที่ต้นแบบดังกล่าว

#gistda #จิสด้า #ก้าวสู่ปีที่22 #ดาวเทียม #อวกาศ #ภูมิสารสนเทศ #GIS #ไฟป่า #พื้นที่เสี่ยง #คาดการณ์ #ความร่วมมือ #pm25

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #อว #mhesi

phakpoom.lao 7/4/2022 0
Share :