Head GISDTDA

รู้มั้ย..!! ทำไม GISTDA ต้องรับสัญญาณจากดาวเทียมในช่วงเวลา 05:00-07:00 น. และ 17:00-19:00 น.

รับสัญญาณจากดาวเทียม

หลายคนสงสัยกันครับว่า ทำไมการถ่ายภาพของดาวเทียมจึงต้องถ่ายตามช่วงเวลาที่กำหนด ถ่ายช่วงเวลาอื่นไม่ได้หรือ? วันนี้แอดมินจะพาไปไขข้อข้องใจกันครับ
.
สาเหตุที่แท้จริง...เพื่อรองรับการประยุกต์ใช้งานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่หลากหลาย และด้วยข้อจำกัดของสภาพอากาศที่มีผลต่อการถ่ายภาพของดาวเทียมที่มีอุปกรณ์ Payload แบบพาสซีพ (เช่น ดาวเทียมไทยโชต) ดังนั้น GISTDA จึงมีนโยบายในการจัดหาข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่มีอุปกรณ์ Payload แบบแอคทีฟ ประเภท SAR (Synthetic Aperture Radar) โดยในปัจจุบัน GISTDA ได้มีการรับสัญญาณและทำการผลิตภาพถ่ายดาวเทียมประเภท SAR ให้บริการกับผู้ใช้งาน โดยมีข้อมูลภาพภ่ายจากดาวเทียมที่ให้บริการจำนวนทั้งหมด 5 ดวง คือดาวเทียมในตระกูล COSMO-SkyMed จำนวน 4 ดวง และดาวเทียม Radarsat-2
.
ทั้งดาวเทียมในตระกูล COSMO-SkyMed และดาวเทียม Radarsat-2 มีวงโคจรที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun-synchronous orbit) ในแบบวงโคจรรุ่งอรุณ-พลบค่ำ (Dawn/Dusk orbit) ซึ่งมีการออกแบบวงโคจรดาวเทียมให้สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ โดยมีการวางแนวระนาบของวงโคจรให้อยู่ในช่วงเส้นแบ่งกลางวันและกลางคืน นั่นก็คือ ระนาบวงโคจรจะหันตั้งฉากเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ดาวเทียมสามารถหันแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์เข้าหาดวงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ตลอดเวลาซึ่งเป็นข้อดีกับดาวเทียมที่มีอุปกรณ์ Payload แบบแอคทีฟ ประเภท SAR เนื่องจากมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าบนตัวดาวเทียมสูง แต่ก็มีข้อด้อยที่อายุการใช้งานของดาวเทียมเนื่องจากตัวดาวเทียมต้องรับแสงอาทิตย์อยู่ตลอดเวลั่นเองครับ
.
ดาวเทียมในตระกูล COSMO-SkyMed มีเวลาท้องถิ่นเหนือเส้นศูนย์สูตรของวงโคจรขาขี้น (Local Equator Crossing Time on Ascending Node) ที่เวลา 6.00 น. และดาวเทียม Radarsat-2 มีเวลาท้องถิ่นเหนือเส้นศูนย์สูตรของวงโคจรขาขี้นที่เวลา 18.00 น. ±15 นาทีและนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม GISTDA จะต้องมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานรับสัญญาณข้อมูลภาพภ่ายดาวเทียมในช่วงเวลา รุ่งอรุณ และพลบค่ำอยู่เสมอ
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
ทศพล ชินนิวัฒน์  วิศวกรชำนาญการ
#gistda #gistdaก้าวสู่ปีที่21 #จิสด้า #อว #กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #mhesi #spacetechnology #NewSpaceEconomy #อวกาศ #พัฒนาดาวเทียม #วิศวกรไทย #คนไทยทำได้
.
เอกสารอ้างอิง
https://directory.eoportal.org/web/eoportal/satellite-missions/c-mission...
https://directory.eoportal.org/web/eoportal/satellite-missions/r/radarsat-2

Admin 20/9/2564 670 0
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง