ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นหลักที่ทุกประเทศให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทั้งในทางตรงและทางอ้อม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่างๆที่เพิ่มสูงขึ้นนำไปสู่ “ภาวะโลกร้อน” ขึ้นทั่วทุกมุมโลก ทำให้เกือบทุกประเทศในประชาคมโลกร่วมลงนามและให้สัตยาบันในความตกลงปารีส Paris Agreement (เป็นความตกลงที่เป็นส่วนขยายและเพิ่มเติม (supplementary agreement) ของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอัน เกิดขึ้นจากที่ประชุมรัฐภาคี (Conference of Parties) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 21 หรือที่เรียกกันว่า “COP.21”) เพื่อร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ประเทศไทยหนึ่งในสมาชิกเข้าร่วมให้สัตยาบันในความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศด้วยเช่นกัน ควบคู่กับเรื่องของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ด้วย เนื่องจากทรัพยากรป่าไม้มีคุณสมบัติในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอนได้ รวมถึงสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านทรัพยากรป่าไม้ในรูปแบบของคาร์บอนเครดิตให้แก่ชุมชนและประเทศได้ ดังนั้น ถ้าชุมชนมีความเข้มแข็ง ร่วมมือกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ก็จะสามารถสร้างรายได้จากการเก็บหาของป่าจากแหล่งทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนนั้น รวมถึงการขายคาร์บอนเครดิตจากพื้นที่ป่าไม้ของชุมชนให้กับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย ซึ่งถ้าแต่ละชุมชนร่วมมือกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูและหวงแหนผืนป่าของชุมชนตนเองแล้ว ก็จะทำให้ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ คุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งประเทศก็จะที่ดีขึ้นตามไปด้วย
GISTDA ได้เข้ามามีบทบาทในภารกิจนี้ โดยการนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มาช่วยในการติดตามพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ และสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T-VER) ทั้งนี้ได้พัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอน เพื่อใช้สำหรับการประเมินคาร์บอนในพื้นที่ป่าของประเทศ หรือ พื้นที่ชุมชน หรือ พื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดที่สนใจ โดยการคำนวณปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในระบบติดตามเหตุการณ์ทางด้านป่าไม้ หรือ ระบบ G-FMS ซึ่งเป็นระบบที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ทดลองคำนวณปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ของตนเอง หรือพื้นที่ที่สนใจ ในหน้าแผนที่ได้เลย ตามลิ้งค์นี้ค่ะ https://gfms.gistda.or.th/carbon ลองเข้ามาใช้งานกันได้ นอกจากนี้ระบบดังกล่าวยังเก็บรวบรวมและเกาะกระแสข่าวสารเกี่ยวกับป่าไม้ไว้ในนี้อีกด้วย สามารถเข้ามาค้นหาข้อมูลย้อนหลังกันได้ พื้นที่สีเขียวภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นถ้าทุกคนช่วยกัน รักสีเขียว รักประเทศไทยย
ขอบคุณข้อมูลจาก
นส.มาลัยวรรณ ทองเสริม
นักภูมิสารสนเทศ
#จิสด้า #gistda #จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #ป่าไม้ #ภูมิสารสนเทศ #คาร์บอน
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.