Head GISDTDA

GISTDA ลงพื้นที่จังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ส่งเสริมการใช้ประโยชน์นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ เพื่อการจัดการข้าวโดยชุมชน G-Rice สร้าง Values ร่วมกับชุมชน วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่

ระหว่างวันที่ 3 - 9  สิงหาคม 2563 GISTDA ลงพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ส่งเสริมการใช้ประโยชน์นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ เพื่อการจัดการข้าวโดยชุมชน พื้นที่ทุ่งกุลาG-Rice (http://g-rice.gistda.or.th) การนี้ GISTDA ได้ประชุมหารือร่วมกับ นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ เกษตรจังหวัดยโสธรและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการนำนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ G-Rice และ วทน. ไปใช้ประโยชน์ในการจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดยโสธรให้เป็นเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันตามยุทธศาสตร์ชาติ 2561-2580 รวมทั้งรับฟังแนวคิดวิธีการข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นในการนำนวัตกรรมฯ มาใช้ในการจัดการเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขจนสามารถนำไปส่งเสริมผลักดันให้เกิดเป็นนวัตกรรมทางการเกษตรในอนาคต

การส่งเสริมการใช้ประโยชน์นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ G-Rice ในครั้งนี้ ได้ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มนาแปลงใหญ่/กลุ่มเกษตรอินทรีย์ หน่วยงานในพื้นที่ ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนสมาชิก แปลงเพาะปลูก ข้อมูลการเพาะปลูกและผลผลิตฤดูกาล 2562/63 และเตรียมข้อมูลสำหรับฤดูกาลเพาะปลูก 2563/64 รวมไปถึงผลิตภัณฑ์และการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ ทั้ง 3 กลุ่มฯ ประกอบด้วย

  1. วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน นาแปลงใหญ่ตำบลดู่ทุ่ง ต.ดู่ทุ่ง อ.เมือง
  2. จ.ยโสธร (สมาชิก 55 ราย)ทั้งนี้ นายอภิรัตน์ ป้องกัน นายอำเภอเมืองยโสธร ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและรับฟังการนำเสนอข้อมูลของวิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน นาแปลงใหญ่ตำบลดู่ทุ่ง ที่มีการจัดการฐานข้อมูลผ่านนวัตกรรมภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการข้าว G-Rice ในครั้งนี้ด้วย
  3. กลุ่มแปลงใหญ่เกษตรอินทรีย์ตำบลโพธิ์ทอง ต.โพธิ์ทอง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด (สมาชิก 47 ราย) 
  4. วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านหนองฮี ต.เมืองเตา อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม (สมาชิก 55 ราย)

ประโยชน์ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มนาแปลงใหญ่ และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ทั้ง 3 กลุ่ม ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับจากการส่งเสริมในครั้งนี้ กลุ่มจะมีข้อมูลทะเบียนสมาชิกซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการฐาน ข้อมูลด้วยตนเอง ได้นำนวัตกรรมไปใช้จัดการด้านการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ ต้นน้ำ ได้แก่ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ข้อมูลแปลงเพาะปลูกรายแปลง กลางน้ำ ข้อมูลกิจกรรมการเพาะปลูก ผลผลิต มาตรฐานการเพาะปลูก และ ปลายน้ำ ผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพิ่มค่าทางการเกษตร ผู้บริโภคสามารถใช้ QR code ตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งปลูกและผลิต เพื่อดูกระบวนการเพาะปลูก มาตรฐานการเพาะปลูกและการผลิตที่ได้รับ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ว่าได้บริโภคผลิตภัณฑ์คุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน นวัตกรรมที่นำไปส่งเสริมนี้ สามารถสร้างมูลค่า (Values) ให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร/ชุมชน /วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ เพิ่มความเข้มแข็งของชุมชน สร้างความกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาและเจริญอย่างยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

Admin 3/8/2563 0
Share :