หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ในการประชุม ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 มีมติเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ และมอบหมายให้ GISTDA จัดทำร่างกฎหมายเพื่อรองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ และให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่ยุคใหม่ของกิจการอวกาศ ได้อย่างยั่งยืน ทว่าปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายภายในประเทศ ที่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการอวกาศ เพื่อก่อให้เกิดเศรษฐกิจอวกาศ หรือ Space Economy จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ครม.ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศแล้ว ในขั้นตอนต่อไปคือการพิจารณารายละเอียด ด้านข้อกฏหมาย โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และรัฐสภา ตามลำดับ
สิ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมและรองรับการสร้างเศรษฐกิจจากกิจการอวกาศ หรือ New Space Economy นั่นก็คือ “พ.ร.บ. กิจการอวกาศฯ” ที่ให้การดูแลกิจกรรม กิจการนิติบุคคลของไทย ส่งเสริมอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมอวกาศของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สร้างมาตรฐานของกิจการอวกาศประเทศไทย ตลอดจนดูแลการประสานงานกับหน่วยงานอวกาศของต่างประเทศ สร้างความร่วมมือ เพื่อเกิดการพัฒนาในทุกมิติ ทำให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เกิดการลงทุน สร้างรายได้ และการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงภายในประเทศ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมอวกาศภายในและต่างประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการรองรับอัตราการเติบโตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ ตลอดจนดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน เทคโนโลยีอวกาศจึงได้เข้ามามีบทบาทและส่วนสำคัญกับชีวิตประจำวันของประชาชน เช่น การใช้เทคโนโลยีดาวเทียมระบุตำแหน่ง GNSS ตลอดจนการเติบโตของธุรกิจและอุตสาหกรรมอวกาศในระดับโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดทำให้ช่วงเวลานี้ในห้วงอวกาศมี การใช้งานดาวเทียม หรือสถานีอวกาศมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมแล้วมากกว่า 3,000 ดวง และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆปี โดยคาดการณ์ว่าในระยะ 10 ปี นี้ จะมีดาวเทียมเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 17,000 ดวง
ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการมี พ.ร.บ. กิจการอวกาศฯ ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ประเทศไทยจะเกิดการลงทุนด้านกิจการอวกาศจะก่อให้เกิดธุรกิจ อุตสาหกรรมและ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมในการดำเนินกิจการในด้านอวกาศที่จะต่อยอดสู่การจ้างงานเพิ่มขึ้นในที่สุด รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง 2.มีหน่วยงานและกลไกเพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สร้างความเชื่อมั่นในการดึงต่างชาติให้มาลงทุนพัฒนากิจการอวกาศในประเทศไทย 3.มีกลไกพัฒนาบุคลากรด้านอวกาศในประเทศ เพื่อให้มีขีดความสามารถทัดเทียมกับต่างชาติในอนาคต 4.การดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับอวกาศทั้งภาคเอกชน และภาครัฐจะเป็นไปด้วยมาตรฐานสากล และได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
ทั้งนี้ สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านอวกาศของสหประชาชาติที่หลายประเทศทั่วโลกใช้กันอยู่ มี 5 ฉบับด้วยกัน โดยมีสำนักงานกิจการอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations Office for Outer Space Affairs (UNOOSA) เป็นผู้ดูแลการดำเนินกิจการอวกาศของประชาคมโลก ซึ่งประกอบด้วย 1) สนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์ และเคหะในท้องฟ้าอื่น ๆ ค.ศ. 1967 2) ความตกลงว่าด้วยการช่วยชีวิตนักอวกาศ การส่งคืนนักอวกาศ และการคืนวัตถุที่ส่งออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1968 3) อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิด ระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ค.ศ.1972 4) อนุสัญญาว่าด้วย การจดทะเบียนวัตถุอวกาศ ค.ศ.1975 และ 5) ความตกลงว่าด้วยกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์และเทหะในท้องฟ้าอื่น ค.ศ. 1979 โดยในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีใน 2 ฉบับเท่านั้น คือ สนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์ และเคหะในท้องฟ้าอื่น ๆ ค.ศ. 1967 และความตกลงว่าด้วยการช่วยชีวิตนักอวกาศ การส่งคืนนักอวกาศ และการคืนวัตถุที่ส่งออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1968
ดังนั้น กฎหมายอวกาศหรือพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. .... จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศ การดำเนินกิจกรรมอวกาศระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับกฎกติกา บูรณาการนโยบายและแผนกิจการอวกาศของประเทศในภาพรวม อีกทั้งมีกลไกในการดำเนินกิจการอวกาศที่สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งที่ประเทศไทยเป็นภาคีแล้ว และอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นภาคี รวมถึงมีกลไกพัฒนาบุคลากรด้านอวกาศในประเทศ เพื่อให้มีขีดความสามารถทัดเทียมกับต่างชาติในอนาคต สร้างความเชื่อมั่นของประเทศในระดับสากล
ทั้งนี้ร่างกฎหมายยังกำหนดให้มีสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติ เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ มีภารกิจหลักๆ คือ
กฎหมายดังกล่าว จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมและรองรับการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ หรือ New Space Economy เป็นกฎหมายที่ให้การดูแลกิจการนิติบุคคลของไทย ส่งเสริมอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมอวกาศของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สร้างมาตรฐานของกิจการอวกาศประเทศไทย ตลอดจนดูเเลการประสานงานกับหน่วยงานอวกาศของต่างประเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนานาชาติ เมื่อมีการทำธุรกิจกิจการใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับด้านอวกาศ รัฐจึงต้องดูแลและทำตามแนวทางของกิจการสากล จะทำให้พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งประเทศ เกิดการลงทุน สร้างรายได้ และการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงภายในประเทศ
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.