GISTDA เฝ้าติดตามสถานการณ์ PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง เช้านี้พบว่า... ข้อมูลภาพจากดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) และดาวเทียมอื่นๆ ของระบบการติดตามปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของวันที่ 2 เมษายน 2564 ในเช้านี้ช่วงเวลา 09.00 น. พบพื้นที่ภาคเหนือยังคงปกคลุมไปด้วยฝุ่นละออง PM 2.5 ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) และพบบางพื้นที่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัด # เชียงราย พบค่า AQI สูงถึง 313 และต่ำสุดในภาคเหนืออยู่ที่ #เพชรบูรณ์ พบค่า AQI 49 สำหรับพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่พบคุณภาพอากาศปานกลาง (สีเหลือง) ในส่วนพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ พบคุณภาพอากาศค่อนข้างดีหลายพื้นที่
ส่วนปริมาณจุดความร้อนที่เกิดขึ้นวานนี้ 1 เมษายน โดยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) พบจุดความร้อนทั้งประเทศจำนวน 1,674 จุด โดยที่ภาคเหนือพบจุดความร้อนมากที่สุดจำนวน 1,311 จุด และพบมากในพื้นที่ของ จังหวัด #เชียงใหม่ 333 จุด รองลงมา #น่าน 159 จุด และ #แม่ฮ่องสอน 151 จุด ตามลำดับ ซึ่งจุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่ อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยจุดความร้อนที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นไปตามคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงเกิดไฟป่าที่ได้ทำการวิเคราะห์ไว้
สำหรับจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านกลับมาเพิ่มสูงอีกครั้ง โดยสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งถึง 5,012 จุด รองลงมาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3,615 จุด ตามลำดับ ตามลำดับ โดยสถานการณ์ของจุดความร้อนที่พบจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้พื้นที่จังหวัดใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองและหมอกควัน ที่ลอยข้ามแดนเข้ามาได้ โดยเฉพาะวันนี้หลายพื้นที่ในภาคเหนือ มีค่าคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และค่า AQI สูง เกิน 100
ข้อมูลภาพจากดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) และดาวเทียมอื่นๆ ของระบบการติดตามปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของวันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 14.00 น. พบพื้นที่ภาคเหนือยังคงปกคลุมไปด้วยฝุ่นละออง PM 2.5 ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) และบางพื้นที่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัด #เชียงราย พบค่า AQI ค่อนข้างสูงอยู่ที่ระดับ 319 ส่วนค่า AQI ที่พบต่ำสุดในภาคเหนืออยู่ที่ 44 ในพื้นที่จังหวัด #อุทัยธานี ในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบค่าคุณภาพอากศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) กระจายตัวอยู่ในบางพื้นที่ สลับกับคุณภาพอากาศปานกลาง (สีเหลือง) ที่ปกคลุมเกือบทั่วภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรงได้
ทั้งนี้ GISTDA จะติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานหลักและที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่ รวมทั้งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามสถานการณ์ PM2.5 อย่างดีที่สุด เพื่อให้ทุกท่านรับทราบข้อมูลอย่างทันท่วงที โดยท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://pm25.gistda.or.th/
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.
This website uses cookies. Our website creates and utilizes cookie data in order for your visit to be smooth, efficient, and private. Please read our cookie policy and GISTDA's personal data protection policy for further detail.