Head GISDTDA

GISTDA หารือ ร่วมกับ สกพอ. เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมและกิจการอวกาศไทย

คณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ GISTDA ประชุมหารือเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมและกิจการอวกาศไทย
ในวันที่ 5 มีนาคม 2564 ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยีร่วมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เยี่ยมชมการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ หรือ SKP อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมรับฟังการบรรยาย The New Space Economy in EEC โดยมี ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA พร้อมคณะให้การต้อนรับ
GISTDA จัดเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายในพื้นที่ EEC โดยอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ซึ่งได้รับการประกาศส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ผู้ประกอบการในประเทศ และต่างชาติจะมีโอกาสในการศึกษาสิทธิประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ภายในพื้นที่ฯ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ โดยใช้กลไกทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาให้เป็นฐานอุตสาหกรรมทางด้านการบินและอวกาศที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอวกาศ ซึ่งในพื้นที่อุทยานรังสรรค์มีการดำเนินโครงการลงทุนสถานีดาวเทียมร่วมกับหน่วยงานเอกชนต่างประเทศ เปิดพื้นที่ได้รับศึกษาสิทธิประโยชน์และ โครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพ ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศของ เช่น การใช้เทคโนโลยีดาวเทียมระบุตำแหน่ง GNSS ให้เป็น Location based services การพัฒนาระบบปฏิบัติการวางแผนเส้นทางการบิน ที่เติบโตอย่างมากในปัจจุบันและวางแผนระบบถ่ายภาพ ของดาวเทียมไทยโชต รวมถึงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมวงโคจรต่ำทั้งระบบภาคพื้นและการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมขนาดเล็ก
ดังนั้น สกพอ. และ GISTDA ได้เล็งเห็นความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยี บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางรวมถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การผลักดันสนับสนุนในภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ในพื้นที่ EEC โดยเฉพาะการผลักดันให้ GISTDA เป็นแกนกลางในการสร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบินและอวกาศใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low orbit satellite) และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ให้เกิดอุตสาหกรรมและต่อยอดทางธุรกิจ เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจอวกาศ หรือ Space Economy ของประเทศไทยที่รัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อไป

Admin 5/3/2021 1051 0
Share :

Related news