Head GISDTDA

งานประชุมวิชาการและการสัมมนานานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2564

งานประชุมวิชาการและการสัมมนานานาชาติการวิจัยขั้นแนวหน้าระบบโลกและอวกาศแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1/2564 
(The 1st International Symposium on Earth Space System Frontier Research Thailand 2021)

การเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแย่งชิงฐานทรัพยากร หรือผลกระทบจากปรากฏการณ์อวกาศที่รบกวนเทคโนโลยีการสื่อสารบนโลก ซึ่งการติดต่อสื่อสารและการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วทำให้มนุษย์มีความใกล้ชิดกันกว่าในอดีตที่ผ่านมา ขณะเดียวกันมนุษย์กำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ๆ เช่น การกระจายของโรคอุบัติใหม่ที่รวดเร็วขึ้น โดยปัญหาที่กล่าวมานี้ หลายๆ ปัญหาเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อเตรียมการรับมือกับปัญหาที่มีซับซ้อนมากขึ้น แนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นเกิดขึ้นพร้อมกันและส่งผลกระทบไปทั่วโลก แต่ละประเทศจึงจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถในการติดตาม เฝ้าระวัง คาดการณ์เหตุการณ์ วางแผนป้องกันและรับมือกับปัญหาควบคู่กับการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ บนพื้นโลกและจากห้วงอวกาศเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในทุก ๆ ด้านของประเทศ การบูรณาการองค์ความรู้ด้วยฐานวิทยาศาสตร์ขั้นแนวหน้า การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยระดับโลก การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงและเทคโนโลยีทางด้านอวกาศโดยคนไทย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งกับการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดในหลายๆ ด้าน เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศไทย

ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ปัญหาของประเทศส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น ไม่ได้มีแผนหรือทิศทางการวิจัยเพื่อได้องค์ความรู้และเทคโนโลยีล้ำมาเตรียมพร้อมไว้ก่อน ทำให้หลายครั้งเราไม่สามารถปัญหาได้ทันถ่วงที

แต่เมื่อถามถึงการพัฒนาและแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการเตรียมพร้อมปัญหาท้าท้ายที่เกิดในอนาคตอย่างยั่งยืน บอกได้เลยว่า “ยังไม่มี” แต่ก็ “กำลังจะมี” ในอีกไม่ช้านี้... ทาง กระทรวง อว. นำโดย

1.สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
2.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว)

มีแผนและนโยบายการจัดทำ National Roadmap ของ Frontier Research ของประเทศไทย ตามปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ทาง สอวช. และ สกสว. มีการประชุมหารือร่วมกับ นักวิจัยทางด้าน Earth Space System (ESS) หรือ “ระบบโลกและอวกาศ”ทั่วประเทศ เพื่อมาร่วมกันจัด National Roadmap ของ ESS เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นแนวทางการเตรียมพร้อมและเพิ่มความแข็งแกร่งในการเอาตัวรอดภัยธรรมชาติและโรคระบาดที่จะมีความซ้บซ้อนและรุนแรงอย่างทวีคูณ และเพิ่มโอกาสและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันการสร้างและผลิตนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ไปสู่ New space economy ในอนาคตมากกว่าที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ข้างหน้า

ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะทำภายใต้ความร่วมมือของหลากหลายหน่วยงานรัฐมากกว่า 10 หน่วยงาน และสถาบันอุดมศึกษามากกว่า 15 มหาวิทยาลัย โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน รวบรวมจัดทำ white paper และ national roadmap ของ ESS ของประเทศไทย

การรวมตัวของการจัดทำครั้งนี้ จะช่วยให้ประเทศไทยมีแผนการดำเนินการวิจัยพัฒนาสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ที่มีต่อโลกมนุษย์ และประเทศไทยของเรา ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับเวลา การเกิดพิบัติภัยในรูปแบบต่างๆ ตามบริบทโลกและสภาพภูมิประเทศ รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการรอดพ้นวิกฤตและโอกาสของประเทศไทยในอนาคต

Admin 23/6/2564 1210 1
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง