Head GISDTDA

อุตสาหกรรมอวกาศกับการเติบโตของผู้ประกอบการในไทย

Ecosystem อุตสาหกรรมอวกาศกับการพัฒนาผู้ประกอบการในไทย

   เรื่องของอุตสาหกรรมอวกาศ การสร้างความเข้าใจในตลาดเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีตลาดอุตสาหกรรมนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย แปลว่าจะมีทั้ง demand และ supply ที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องนโยบาย กลยุทธ์ แนวคิด แนวปฏิบัติ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และบริการรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ซึ่งเบื้องหลังการต่อยอดเหล่านี้เกิดขึ้นจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการยกระดับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในสาขาต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีการผลิตอยู่แล้ว รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องเย็น อุตสาหกรรมไฟฟ้า ผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ ฮาดแวร์และซอฟแวร์อีกมากมาย ทั้งหมดนี้ GISTDA มองเห็นช่องทางและพร้อมสร้างโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้ยกระดับพื้นฐานเดิมจาก Consumer Grade Industrial Grade หรือ Military Grade ไปสู่ Space Grade ร่วมกัน ซึ่ง Space Grade นับเป็นมาตรฐานสูงสุดของผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดแล้ว จากจุดนี้เราจะได้องคาพยพร่วมสร้าง Ecosystem อุตสาหกรรมอวกาศให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

 

THEOS-2 กับจุดกำเนิดผู้ประกอบการในไทยไปสู่อวกาศ

   GISTDA มีบริการที่หลากหลายเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในไทยให้เข้าใจเรื่องอุตสาหกรรมอวกาศร่วมกัน หนึ่งในนั้นคือการให้บริการ Lab เพื่อทดสอบมาตรฐานการผลิต ซึ่งในระยะใกล้อีกประมาณ 5 เดือนนี้ จะมีการทดสอบดาวเทียมเล็ก หรือ THEOS Small Satellite ดาวเทียมภายใต้โครงการ THEOS-2 เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และในดาวเทียมดวงนี้จะมีผลงานระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนจากฝีมือผู้ประกอบการในไทยใช้งานจริงอยู่ด้วย ซึ่งต้องมีการทดสอบระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสั่นสะเทือน ระบบควบคุมความร้อนความเย็น ระบบศูนย์ถ่วงของดาวเทียมและอีกมากมาย

โครงการ THEOS-2 นี้นับเป็นการจุดประกายการพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศ ในเรื่องบุคลากรหลากหลายภาคส่วน รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการอย่างชัดเจน

 

ทำความรู้จัก AIT และ GALAXI Lab แล็ปในไทยแต่มาตรฐานสากล

AIT คือศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียมภายใต้โครงการ THEOS-2 เป็นศูนย์ที่มีความทันสมัยภายใต้มาตรฐานสากล ที่สามารถรองรับการทดสอบดาวเทียมของประเทศไทย รวมไปถึงรองรับการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์ สร้าง ประกอบ ทดสอบดาวเทียมประเภทอื่น ๆ ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 10-500 กิโลกรัม และสามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมดาวเทียมของโลกในอนาคตได้ด้วย ภายในศูนย์จะมีห้องวิจัยและพัฒนาดาวเทียมระบบห้องสะอาดควบคุมอนุภาค (Clean Room) อุปกรณ์ Thermal Cycling, Mass Property Measurement, Vibration Test และ Thermal Vacuum Chamber ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการพัฒนาดาวเทียม (Test Bench)

   ส่วน GALAXI Lab เป็น Lab รัฐบาลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภารกิจหลักในการออกแบบ ผลิต ทดสอบวัสดุด้านการบินและอวกาศ ซึ่งได้รับการรับรอง 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2017 มาตรฐานด้านการบิน NADCAP AC7122 (Non-Metallic Material Testing) และมาตรฐานการจัดการคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรม Aerospace (AS9100D)

   การพัฒนาผู้ประกอบการในไทยภายใต้โครงการ THEOS-2 นับเป็นการผลักดันสร้างมาตรฐานและศักยภาพบุคลากรด้านอวกาศในประเทศไทยก้าวหน้าไปอีกขั้นอย่างรวดเร็ว นอกจากการส่งทีมวิศวกรไปเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติแบบลงสนามจริงกับบริษัท Surrey ในการ Training ที่ประเทศอังกฤษแล้ว กลุ่มผู้ประกอบการในไทยคือหัวใจหลักที่จะร่วมสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมอวกาศร่วมกัน

amorn.pet 15/6/2565 584 0
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง