Head GISDTDA

ยอดเขาเอเวอเรสต์ ประเทศนปาลและทิเบต

มุมมองจากอวกาศ Image of the week around the world

 ยอดเขาเอเวอเรสต์  ประเทศเนปาลและทิเบต

Serie 4 : พาเราไปหาเขา

พิกัด  27.98925592056758, 86.92506077850969

 

สงกรานต์นี้ ชาวแฟนเพจที่น่ารักวางแผนไปเที่ยวที่ไหนกันบ้างครับ เที่ยวให้สนุกแต่อย่าลืมป้องกันดูแลตัวเองกันด้วยนะครับเพราะทั้งการแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ยังคงอยู่ PM 2.5 ก็มาเยือนอย่างไม่ขาดสาย สุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องดูแลอยู่เสมอ สำหรับใครที่อยู่บ้านไม่ชอบท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล แอดมินมีวิธีการท่องเที่ยวแบบปลอดภัยมาฝากกันครับ ด้วยการท่องเที่ยวไปกับภาพถ่ายจากดาวเทียมกับมุมมองอวกาศที่ไม่เหมือนใคร ครั้งนี้เป็นซีรี่ย์ที่ 4 ของ Image of the week around the world  กับธีม “พาเราไปหาเขา”  สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวห้ามพลาดนะครับกับเขาแรกที่แอดมินจะพาไปเยือนนั่นก็คือ “ยอดเขาเอเวอเรสต์  ” นั่นเองครับ

.

ยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกที่มีความสูงถึง 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่นี่..เป็นจุดนัดพบของผู้ที่รักการผจญภัยสำหรับนักปีนเขาและผู้รักธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีมีผู้มาเยือนเป็นจำนวนมาก ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาแห่งนี้ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบตซึ่งอยู่ในภูเขาหิมาลัย ด้วยความสูงที่มากสุดในโลกทำให้บริเวณยอดเขามีอากาศหนาวเย็นแบบสุดขั้วในช่วงหน้าหนาว และมีหิมะปกคลุมยอดตลอดทั้งปี มีลมที่พัดแรงมาก ออกซิเจนค่อนข้างน้อย  นักปีนเขาหลายคนจึงเอาชีวิตไปทิ้งไว้ที่นี่หากร่างกายไม่แกร่งพอ ช่วงอุณหภูมิที่นักปีนเขาสามารถเข้าถึงได้ในช่วงต้นปีจะอยู่ที่ประมาณ -36 องศาเซลเซียส และช่วงหน้าร้อน -19 องศาเซลเซียส แต่ถ้าใครที่สามารถพิชิตยอดเขาแห่งนี้ได้จะรู้สึกเหมือนได้เป็นอีก 1 ความสำเร็จของชีวิตและที่สำคัญได้สัมผัสกับความสวยงามและความยิ่งใหญ่ด้วยสายตาในแบบที่ไม่เคยได้เห็นที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน

.

เอเวอเรสต์ ประกอบด้วยชั้นหินตะกอนและหินแปรหลายชั้นที่มีน้ำแข็งและหิมะปกคลุมเกือบถาวร มีอายุประมาณ 60 ล้านปี ที่นี่เป็นแหล่งกำเนิดของความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากในส่วนที่สูงที่สุดของเอเวอเรสต์มีการลดลงของอุณหภูมิและความดันบรรยากาศจึงทำให้สัตว์และพืชหลายชนิดไม่สามารถอยู่ได้ มีเพียงสัตว์บางชนิดเท่านั้นที่รอด ตัวอย่างเช่น จามรี พวกมันเป็นสัตว์ที่มีปอดขนาดใหญ่ทำให้สามารถอยู่รอดได้ในที่สูงถึง 6,000 เมตร ยังมีนกบางชนิด เช่น นกประหลาดสีเหลืองที่สามารถบินได้สูงถึง 8,000 เมตร นอกจากนี้ยังมีสัตว์บางชนิดที่สามารถอยู่รอดได้เช่นกัน ได้แก่ แพนด้าแดง หมีดำหิมาลัย เสือดาวหิมะ แมงมุมบางชนิด และแร้ง ส่วนพืชพรรณนั้นสามารถพบเห็นได้บางชนิดเท่านั้น อาทิ มอสตามโขดหิน ไลเคนและพืชบางชนิดที่ระดับความสูงประมาณ 4,876 เมตร ถ้าสูงขึ้นไปประมาณ 5,600 เมตร จะไม่มีพืชพรรณชนิดใดเลย

.

สงสัยไหมครับ ..?? รู้ได้อย่างไรว่า เอเวอเรสต์ สูง 8,848 เมตร  

หลักๆแล้ว เนปาลและจีน จะดำเนินการวัดความสูงของยอดเขาแห่งนี้ โดยทั้ง 2 ประเทศต่างก็ใช้ระบบนำทางด้วยดาวเทียม GNSS (Global Navigation Satellite Systems) เพื่อรับข้อมูลระดับความสูงจากเครื่องรับสัญญาณหลายแห่งในการคำนวณ ก่อนหน้านี้จีนได้เคยวัดความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี 1975 และอีกครั้งในปี 2005 จนกระทั่งล่าสุด เจ้าหน้าที่สำรวจของจีนได้ใช้ระบบดาวเทียมนำทางเป๋ยโต่ว (BeiDou) มาใช้ในการวัดความสูงดังกล่าว รวมถึงวัดความหนาของหิมะ สภาพอากาศและความเร็วลมด้วย ส่วนเจ้าหน้าที่สำรวจของเนปาลใช้ระบบ GPS ในการคำนวณ จนได้ค่าความสูงที่ทั้ง 2 ประเทศยอมรับกันได้ที่ประมาณ 8,848.86 เมตร ความสวยงามของยอดเขาเอเวอเรสต์ จึงเป็นสิ่งที่นักปีนเขาจากทั่วทุกมุมโลกถวิลหา แน่นอนว่าจะต้องมีประเทศไทยอย่างแน่นอน ซึ่งคนไทยคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์สำเร็จก็คือ คุณวิทิตนันท์ โรจนพานิช ครีเอทีฟรายการโทรทัศน์และผู้กำกับภาพยนตร์ เมื่อปี 2551 ไม่แน่คนต่อไปอาจเป็นคุณก็ได้ แอดมินเอาใจช่วยครับ 

.

 ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.bbc.com/thai/international-55230313

https://www.voathai.com/a/mountain-everest-climbers/5570415.html

https://www.meteorologiaenred.com/th/everest.html

https://www.globalholidayth.com/travel-content/detail/?ref=27&title%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5(EBC)

 

#gistda #จิสด้า #จิสด้าก้าวสู่ปีที่22 #space #ความรู้ #ต่างประเทศ #ImageOfTheWeek #history #ยอดเขาเอเวอเรสต์  #เนปาล #ทิเบต

phasaphong.tha 11/4/2565 22290 1
Share :