Head GISDTDA

กักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ วิเคราะห์ได้ด้วยภูมิสารสนเทศ

ป่าไม้

   ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นหลักที่ทุกประเทศให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทั้งในทางตรงและทางอ้อม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่างๆที่เพิ่มสูงขึ้นนำไปสู่ “ภาวะโลกร้อน” ขึ้นทั่วทุกมุมโลก ทำให้เกือบทุกประเทศในประชาคมโลกร่วมลงนามและให้สัตยาบันในความตกลงปารีส Paris Agreement (เป็นความตกลงที่เป็นส่วนขยายและเพิ่มเติม (supplementary agreement) ของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอัน เกิดขึ้นจากที่ประชุมรัฐภาคี (Conference of Parties) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 21 หรือที่เรียกกันว่า “COP.21”) เพื่อร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

   ประเทศไทยหนึ่งในสมาชิกเข้าร่วมให้สัตยาบันในความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศด้วยเช่นกัน ควบคู่กับเรื่องของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ด้วย เนื่องจากทรัพยากรป่าไม้มีคุณสมบัติในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอนได้ รวมถึงสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านทรัพยากรป่าไม้ในรูปแบบของคาร์บอนเครดิตให้แก่ชุมชนและประเทศได้ ดังนั้น ถ้าชุมชนมีความเข้มแข็ง ร่วมมือกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ก็จะสามารถสร้างรายได้จากการเก็บหาของป่าจากแหล่งทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนนั้น รวมถึงการขายคาร์บอนเครดิตจากพื้นที่ป่าไม้ของชุมชนให้กับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย ซึ่งถ้าแต่ละชุมชนร่วมมือกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูและหวงแหนผืนป่าของชุมชนตนเองแล้ว ก็จะทำให้ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ คุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งประเทศก็จะที่ดีขึ้นตามไปด้วย

   GISTDA ได้เข้ามามีบทบาทในภารกิจนี้ โดยการนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มาช่วยในการติดตามพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ และสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T-VER) ทั้งนี้ได้พัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอน เพื่อใช้สำหรับการประเมินคาร์บอนในพื้นที่ป่าของประเทศ หรือ พื้นที่ชุมชน หรือ พื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดที่สนใจ โดยการคำนวณปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในระบบติดตามเหตุการณ์ทางด้านป่าไม้ หรือ ระบบ G-FMS ซึ่งเป็นระบบที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ทดลองคำนวณปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ของตนเอง หรือพื้นที่ที่สนใจ ในหน้าแผนที่ได้เลย ตามลิ้งค์นี้ค่ะ  https://gfms.gistda.or.th/carbon ลองเข้ามาใช้งานกันได้ นอกจากนี้ระบบดังกล่าวยังเก็บรวบรวมและเกาะกระแสข่าวสารเกี่ยวกับป่าไม้ไว้ในนี้อีกด้วย สามารถเข้ามาค้นหาข้อมูลย้อนหลังกันได้ พื้นที่สีเขียวภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นถ้าทุกคนช่วยกัน  รักสีเขียว รักประเทศไทยย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
นส.มาลัยวรรณ ทองเสริม
นักภูมิสารสนเทศ
#จิสด้า #gistda #จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #ป่าไม้ #ภูมิสารสนเทศ #คาร์บอน

Admin 6/9/2564 2972 0
Share :

บทความที่เกี่ยวข้อง