Head GISDTDA

โครงการประมวลผลข้อมูลดาวเทียมระบบ MODIS รายวัน

 

ปัจจุบัน ภัยพิบัติได้เกิดขึ้นหลายครั้งและทวีความรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะภัยพิบัติ น้ำท่วม ดินถล่ม ไหป่า หมอกควัน ภัยแล้ง และภัยพิบัติทางทะเล  สทอภ.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำเข้าข้อมูลด่าวเทียมมาประยุกต์ใช้ในการติดตามภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย โดยการใช้ข้อมูลระบบ MODIS ซึ่งเป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ติดตั้งบนดาวเทียม TERRA และ AQUA ซึ่งสามารถติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ในระดับภูมิภาคทุกวัน เนื่องจากข้อมูลระบบ MODIS มีแถบการถ่ายภาพที่กว้าง ทำให้ถ่ายภาพครอบคลุมทั่วประเทศไทยเพียงครั้งเดียว และสามารถถ่ายภาพได้วันละ 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า (10:00 -11:00 น.) โดยดาวเทียม TERRA  และ ช่วงบ่าย (13:00-14:00 น.) โดยดาวเทียม AQUA  รวมทั้งมีจำนวนช่วงคลื่น 36 ช่วงคลื่น (รายละเอียด 250 เมตร - 2 ช่วงคลื่น , รายละเอียด 500 เมตร - 5 ช่วงคลื่น และรายละเอียด 1,000 เมตร - 29 ช่วงคลื่น) จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ และสามารถติดตามภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่อง
สทอภ. ได้นำข้อมูลระบบ MODIS จากดาวเทียม TERRA และ AQUA มาปรับแก้เชิงเรขาคณิต, ทำภาพสีผสม (ภาพสีผสมจริง -True Color Composites และภาพสีผสมเท็จ - False Color Composites) และจัดทำข้อมูลดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index : NDVI)   นอกจากนี้ยังใช้โปรแกรม MOD 14 มาประมวลผลข้อมูล MODIS เพื่อจัดทำแผนที่ Hot Spot, แผนที่น้ำท่วม และแผนที่หมอกควัน   โดยนำข้อมูลและผลการวิเคราะห์เหล่านี้เผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ http://modis.gistda.or.th

TAG: modis
Admin 31/3/2553 0
Share :